1. ลักษณะโรค : เป็นไวรัสที่ก่อโรคในสัตว์ ไวรัสนิปาห์ก่อโรคไข้สมองอักเสบเป็นหลัก ในขณะที่ไวรัสเฮนดราก่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่รุนแรง ลักษณะเชื้อไวรัสเฮนดรา และไวรัสนิปาห์ อยู่ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxoviridae มีจีโนม RNA ลักษณะเป็นสายเดี่ยว (single-stranded, nonsegmented, negative-sense RNA genome) ล้อมรอบด้วยโปรตีน ไวรัสนิปาห์ มีขนาดตั้งแต่ 120 - 500 นาโนเมตรและไวรัสเฮนดรามีขนาดตั้งแต่ 40 - 600 นาโนเมตร (ดังรูปที่ 14)
รูปที่ 14 ลักษณะโครงสร้างอนุภาคของเชื้อไวรัสนิปาห์ที่แยกจากเพาะเชื้อ (Ultrastructural characteristicsof Nipah virus isolate in cell culture as seen
by negative stain) (A) nucleocapsid สายเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปแฉกแนวขนานซึ่งเป็นลักษณะ
ของไวรัสในวงศ์ Paramyxoviridae (A singlenucleocapsid with the typical herringbone
appearance characteristic of the family Paramyxoviridae) (B) ภาพตัดขวาง และภาพ
ตามยาวของ viral neucleocapsid ที่เรียงตัวตามplasma membrane ของเชื้อไวรัสนิปาห์ที่ติดเชื้อ
ในเซลล์ Vero E6 (Viral nucleocapsids, as seenin cross and longitudinal sections, aligned
along the plasma membrane of Nipah-virusinfected Vero E6-cell) (C) เชื้อไวรัสนิปาห์ที่อยู่
ภายนอกเซลล์ แสดงลักษณะเป็นเส้นโค้งที่พันกันไปมาของ nucleocapsid ที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มไวรัส
(Extracellular Nipah virus particle showing a curvilinear tangle of nucleocapsids enclosed
within the viral envelop)
2. ระบาดวิทยา :
สถานการณ์ทั่วโลก : โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2542 ผู้ป่วยรายแรกพบที่ รัฐเปรัก เมืองคินตา เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปี อาชีพขายเนื้อสุกร และผู้ป่วยรายสุดท้ายอยู่ที่เมืองสุไหงบูโละ รัฐเซลังงอ เป็นคนงานในโรงเลื่อยไม้ เพศชายอายุ 29 ปี พบผู้ป่วยทั้งหมด 265 รายตาย 105 ราย โดยมีการระบาดอยู่ใน 3 รัฐ ได้แก่รัฐเปรักที่เมืองคินตา รัฐเนเกริเซมบิลัน มีการระบาด 2 แห่งที่เมืองซิกามัต และที่เมืองบูกิต เปลันดอค รัฐเซลังงอที่เมืองสุไหงบูโละ ในประเทศสิงคโปร์ โรคนี้ระบาดระหว่างวันที่ 13 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2542 พบผู้ป่วย 11 ราย ตาย 1 ราย สาเหตุจากการนำเข้าสุกรจากประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2542
หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกหลายครั้งในประเทศอินเดีย ที่เมืองซิริกูลิในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544โดยมีผู้ป่วย 66 ราย เสียชีวิต 45 ราย และมีการระบาดในประเทศบังคลาเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2550 การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในประเทศบังคลาเทศมีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ การสัมผัสกับโคป่วยการบริโภคผลนํ้าจากผลปาล์มสดที่ปนเปื้อนนํ้าลายของค้างคาวแม่ไก่ ซึ่งเป็นค้างคาวจำพวก ที่กินผลไม้ และมีการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งสาเหตุของการระบาดที่มาเลเซียเกิดจากเชื้อไวรัสนิปาห์ สายพันธุ์เดียว ซึ่งแตกต่างจากการระบาดที่บังคลาเทศซึ่งเกิดจากหลายสายพันธุ์ทำให้มีลักษณะอาการ ทางคลินิกแตกต่างกัน
สถานการณ์โรคในประเทศไทย : ยังไม่เคยพบผู้ป่วยในประเทศไทย แต่จากการศึกษาของศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และคณะในปี พ.ศ. 2546จากการสำรวจค้างคาวในบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยพบว่า ค้างคาวแม่ไก่ ร้อยละ 7 มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนิปาห์ และพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนิปาห์ในนํ้าลายและปัสสาวะของค้างคาวแม่ไก่ด้วย ดังนั้นพื้นที่เสี่ยงทางภาคใต้ จึงควรเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและป้องกันไม่ให้โรคแพร่มายังสัตว์เลี้ยงตามมาตรการของกรมปศุสัตว์
3. อาการของโรค : อาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการมาก โคม่า และ/หรือระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตรวมทั้งมีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ วิงเวียน ซึมและสับสนหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบผิดปกติในผู้ป่วยไวรัสนิปาห์จะมีอาการอักเสบของสมองเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้วินิจฉัยว่า เป็นไข้สมองอักเสบ (ดังรูปที่ 15) ส่วนหนึ่งจะมีแสดงอาการของปอด ผู้ป่วยทั้งหมดที่มีชีวิตรอดจาก สมองอักเสบเฉียบพลันจะสามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติ แต่มีประมาณร้อยละ 20 ที่พบร่องรอยความบกพร่องของระบบประสาท อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 40 และพบว่าในคนที่มีการติดเชื้อไวรัสบางรายไม่แสดงอาการ
4. ระยะฟักตัวของโรค : ประมาณ 4 - 18 วัน
5. การวินิจฉัยโรค : อาศัยการตรวจทางนํ้าเหลืองวิทยา หา IgM และ IgG โดยวิธี ELISA หรือวิธี serum neutralizationยืนยันการวินิจฉัยโดยการแยกเชื้อไวรัสได้จากผู้ป่วย
6. การรักษา : ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา แต่มีรายงานพบว่ายาไรบาวิริน (Ribavirin) อาจจะลดอัตราการตายจากไวรัสนิปาห์ได้
7. การแพร่ติดต่อโรค : จากการสัมผัสโดยตรงกับม้า (ไวรัสเฮนดรา) หรือหมู (ไวรัสนิปาห์) หรือผลิตภัณฑ์จากม้าหรือหมูที่ติดเชื้อ
รูปที่ 15 ภาพถ่ายเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบตัดขวางโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ในผู้ป่วย
ระยะเฉียบพลัน (A) และระยะกลับเป็นซํ้า (B) (Axial magnetic resonance imaging fi ndings
in patients with acute (A) and relapsed(B) Nipah virus encephalitis with use of
fl uid-attenuated inversion recovery)(A) รอยโรคลักษณะสีเข้มกระจายหลายแห่งใน
เนื้อเยื่อสมองส่วน white และ gray matter ในผู้ป่วยโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ระยะ
เฉียบพลัน (Multiple discrete hyperintenselesions in the white and gray matter of a
patient with acute Nipah virus encephalitis)(B) รอยโรคลักษณะรวมกันในส่วน cortical gray
matter ในผู้ป่วยโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ระยะกลับเป็นซํ้า (Confl uent lesions primarily
involving the cortical gray matter in a patientwith relapsed Nipah virus encephalitis)
8. มาตรการป้องกันโรค : ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการที่จะนำมาใช้ และป้องกันสัตว์ไม่ให้ สัมผัสกับมูลและปัสสาวะของค้างคาวกินผลไม้ และสัตว์ที่ติดเชื้อ อย่างเช่น หมูและม้า และตรวจสอบให้แน่ใจว่าค้างคาวกินผลไม้ไม่ได้พักอาศัยอยู่ใกล้กับคอกหมูหรือคอกสัตว์
9. มาตรการควบคุมการระบาด :
1. ป้องกันผู้ทำงานปศุสัตว์ : สวมชุดป้องกัน รองเท้าบู๊ทหมวก ถุงมือ แว่นตา กระจังบังหน้า ล้างตัวและมือ
ให้สะอาดทุกครั้งก่อนออกจากฟาร์ม
2. เผาทำลายซากม้าและหมูที่ติดเชื้อ โดยการควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐ
3. ห้ามขนย้ายสัตว์ออกจากบริเวณที่มีการระบาดของโรค
4. แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หากปรากฏการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
เอกสารอ้างอิง:
1. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Associationof Public Health, 2008.
2. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s, editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia (USA): Elsevier; 2010 : p.2239-2240.
ที่มา: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข