โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (SEVERE ACUTE RESPIRATORY SYNDROME; SARS)

1. ลักษณะโรค : โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการในระบบทางเดินอาหาร เชื้อที่เป็นสาเหตุ คือ เชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronavirus) (ดังรูปที่ 12)


รูปที่ 12 เชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ HCoV-229E จากเซลล์ที่ติดเชื้อ
(Coronavirus, stain HCoV-229E, harvested from infected WI-38 cells)

2. ระบาดวิทยา :
สถานการณ์ทั่วโลก : โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคซาร์ส ; SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) เกิดการระบาดครั้งแรกในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีนประมาณปลายปี พ.ศ. 2545 โดยพบผู้ป่วยปอดบวม ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ต่อมาเกิดการระบาดของโรคปอดบวมในเวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์ แคนาดา จากการสอบสวนทางระบาดวิทยาสามารถเชื่อมโยงได้ว่า มาจากแพทย์ท่านหนึ่งที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในมณฑลกวางตุ้ง ได้เดินทางมาฮ่องกง ขณะมีอาการไข้ และเข้าพักที่โรงแรมก่อนจะถูกนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตต่อมา ปรากฏว่าคนในโรงแรมหลายคนติดเชื้อ และนำเชื้อกลับไปยังประเทศของตนหรือเมืองที่ตนเดินทางต่อไป จนกระทั่ง ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 มีการแพร่ระบาดไปยัง 29 ประเทศ รวมมีรายงานป่วย 8,098 ราย และเสียชีวิต 774 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 9.6

สถานการณ์โรคในประเทศไทย : จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 ผู้ป่วยเป็นแพทย์ชาวอิตาลีที่ไปสอบสวนโรคดังกล่าวที่กรุงฮานอยแล้วมีอาการป่วย ในขณะที่กำลังเดินทางมาประเทศไทย ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในกลุ่มแพทย์พยาบาล ที่ทำการดูแลรักษาพยาบาล และยังไม่พบการแพร่ระบาดในชุมชน

อาการของโรค :
ครั่นเนื้อ ครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อและไข้ต่อมาเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างรวดเร็วซึ่งมีทั้งไอและหายใจลำบาก อาจจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย อาการอาจจะทรุดลงหลายวันสอดคล้องกับที่ไวรัสในเลือดขึ้นสูงหลังจากแสดงอาการได้ 10 วัน

4. ระยะฟักตัวของโรค : 3 - 10 วัน

5. การวินิจฉัยโรค : อาศัยทั้งลักษณะอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมกัน ตัวอย่างระบบทางเดินหายใจที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ ตัวอย่างจากคอหอย (Nasopharyngeal aspiration) และอุจจาระซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการตรวจเชื้อไวรัส โดยตรวจหาneucleic acid ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีแยกเชื้อไวรัสในช่วงสัปดาห์แรก หรือสัปดาห์ที่สองของการป่วย ระหว่างการเกิดการระบาดของโรคซาร์ส ความไวของวิธี RT-PCRจะอยู่ประมาณร้อยละ 70 ในตัวอย่างที่เก็บช่วงวันแรกๆของการป่วย วิธี PCR ที่ยืนยันให้ผลบวก สำหรับโรคซาร์สต้องใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง เช่น ตัวอย่างจากคอหอยและอุจจาระ หรือเก็บตัวอย่างเดียวกัน ในช่วงที่ป่วย 2 วัน หรือมากกว่า 2 วัน เช่น เก็บตัวอย่างจากคอหอยทดสอบ 2 ครั้ง หรือมากกว่า หรือทดสอบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 2 วิธี หรือ การทดสอบด้วยวิธี PCR ซํ้า โดยใช้ตัวอย่างสกัดใหม่จากตัวอย่างที่เก็บมาในการทดสอบแต่ละครั้ง ตัวอย่างนํ้าเหลืองในช่วง ระยะเฉียบพลัน หรือระยะฟื้นตัวจากการป่วยควรเก็บห่างกันอย่างน้อย 8 วันสำหรับการตรวจทางนํ้าเหลืองวิทยา เช่น การตรวจด้วยวิธี IFA, ELIZA, Western blots และ neutralization tests ELIZA, IFA ต้องมี acute serum เป็นลบ แล้วมี convalescent serum เป็นบวก หรือเพิ่ม 4 เท่า หรือมากกว่าการมี antibody rise เป็นผลการทดสอบที่เฉพาะเจาะจงมาก

การแยกเชื้อไวรัส สามารถทำการเพาะเชื้อจากตัวอย่างใดๆ ก็ได้ รวมทั้งการยืนยันผลจาก PCR

6. การรักษา : เมื่อรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลการสั่งยารักษา ให้สั่งยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ community-acquired pneumonia จนกว่าจะวินิจฉัย
แยกโรค Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS ได้ การใช้ยาไรบาวิริน (Ribavirin) ตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับสเตียรอยด์ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพที่ชัดเจน แต่พบว่ามีผลข้างเคียงมาก จึงเสนอให้มีการร่วมมือกันจากหลายหน่วยงานเพื่อทดสอบยาตัวนี้ ตลอดจนการหาวิธีอื่นในการรักษาโรคนี้

7. การแพร่ติดต่อโรค : โรคซาร์สติดต่อระหว่างคนสู่คนโดยการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การดูแล, การอาศัย อยู่ร่วมกันผ่านทางละอองฝอยจากการไอ จาม หรือการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือของเหลวจากร่างกายของผู้สงสัยว่าป่วยหรือผู้ที่อาจจะป่วยเป็นโรคซาร์ส โรคนี้แพร่กระจายขั้นแรกทางนํ้ามูกนํ้าลายและวัสดุที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อ (fomites) อีกกรณีหนึ่งคาดกันว่า แพร่โดยพาหะทางสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองฝอยจากท่อนํ้าทิ้ง หรือจากการขนส่งของเสีย ซึ่งการศึกษาย้อนหลังยังดำเนินการต่อไป

8. มาตรการป้องกันโรค :
    1. คัดแยกผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลและอยู่ในข่ายต้องรับการตรวจหาโรคซาร์สให้อยู่สถานที่ที่จัดไว้เฉพาะรวมทั้งให้ใส่หน้ากากอนามัย
    2. บุคลากรที่ทำงานด้านคัดแยก (Triage process) ต้องใส่หน้ากาก (N/R/P 95/99/100 หรือ FFP 2/3 หรือเทียบเท่าตามมาตรฐานอุตสาหกรรม) พร้อมเครื่องป้องกันตา ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย หลังกิจกรรมที่มีการปนเปื้อนและหลังการถอดถุงมือที่เปื้อน และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆต้องดูแลรักษาอย่างระมัดระวัง เพราะอาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ นํ้ายาฆ่าเชื้อต้องมีใช้อย่างทั่วถึงเช่น นํ้ายาฟอกขาวที่ผสมใหม่และเข้มข้นที่เหมาะสม
    3. แยกกักผู้ที่อาจจะเป็นโรคซาร์ส ผู้ที่อาจจะเป็นโรคซาร์ส (probable case) ห้องที่ใช้ต้องเป็นห้องความดันเป็นลบ
    4. ล้างมือบ่อยๆ และเตรียมนํ้าสะอาดไว้ให้พร้อม ต้องล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วย หรือมีการปนเปื้อนหรือเมื่อถอดถุงมือ นํ้ายาฆ่าเชื้อที่ผสมแอลกอฮอล์ก็สามารถใช้ทำความสะอาดได้ ถ้าการปนเปื้อนไม่มีสารออร์กานิค
    5. ติดตามผู้สัมผัส หรือบุคคลที่ให้การดูแลอาศัยอยู่ร่วมกันหรือสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของเหลวจากร่างกายและ/หรือสิ่งขับถ่ายเช่น อุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือผู้ที่อาจจะเป็นโรคซาร์ส

9. มาตรการควบคุมการระบาด :

    1. หากเกิดสถานการณ์การระบาด ให้แจ้งประชาชนให้ได้รับรู้มาตรการการป้องกันควบคุมโรค อย่างชัดเจน
    2. จัดตั้งคณะที่ปรึกษาโรคซาร์สแห่งชาติ ที่มีหลายหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ใช้ร่วมกับการออกมาตรการอย่างครบถ้วนทุกด้าน ทั้งทางระบาดวิทยาทางคลินิกและการสอบสวนโรคเพื่อหา ขอ้ มูลเพิ่มเติม
    3. ให้ความรู้กับประชาชนผ่านทางสื่อสาธารณะ เรื่องอันตรายจากโรคซาร์ส คำนิยามของผู้สัมผัส ลักษณะอาการทั่วไป และการหลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค รวมทั้งให้มีโทรศัพท์สายด่วนเพื่อการติดต่อสื่อสาร
    4. คัดแยกผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งควรให้ประชาชนได้รับรู้ว่ามีและสามารถเข้าถึงบริการด้วย

เอกสารอ้างอิง:
1. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Associationof Public Health, 2008.
2. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s, editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia(USA): Elsevier; 2010 : p. 2188.