1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Legionellae เป็นเชื้อแบคทีเรียรูปแท่ง ที่ติดสีแกรมลบ (ดังรูปที่ 5) โรคนี้สามารถก่อให้เกิดอาการทางคลินิกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่โรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ และโรคลีเจียนแนร์ชนิดไม่มี ปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า ไข้ปอนเตียก
รูปที่ 5 เชื้อลีเจียนเน็ลล่าจากการเพาะเชื้อ (Cultures of Legionella pneumophila)
(A) เชื้อลีเจียนเน็ลล่าบนอาหารเลี้ยงเชื้อ BCYE∝ ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นโคโลนีที่มีสีคล้ายโอปอล (ขยาย 10 เท่าด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ)
(Typical opal-like colonyof L. pneumophila grown on BCYE∝ agar)
(B) เชื้อลีเจียนเน็ลล่าจากการย้อมสีแกรม (ขยาย 1,000 เท่า)(Gram stain of L. pneumophila taken from culture plate)
2. ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : มีบันทึกการพบผู้ป่วยรายแรกใน พ.ศ. 2490 และการระบาด ครั้งแรกใน พ.ศ. 2500 ที่รัฐมินนิโซตา มีการระบาดครั้งใหญ่ของโรคปอดอักเสบในหมู่ผู้ร่วมประชุมทหารอเมริกัน(American Legion Convention) ที่เมืองฟิลาเดลเฟียสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2519 มีผู้ป่วย 182 ราย เสียชีวิต29 ราย อีก 6 เดือนต่อมา McDade JE และคณะ จึงได้พบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจากปอดของผู้เสียชีวิต จึงเป็นที่มาของชื่อ “Legionella pneumophila”
โรคลีเจียนแนร์เป็นโรคที่ต่างประเทศให้ความสนใจเนื่องจากมี อัตราป่วยตายสูงโดยเฉพาะ ประเทศ ในแถบยุโรปมีระบบเฝ้าระวังและมีคณะทำงานสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะเรียกว่า European Working Group for Legionella Infections (EWGLI) อัตราป่วยของโรคนี้โดยเฉลี่ยในยุโรปเท่ากับ 4.45 ต่อประชากรล้านคน ในปี พ.ศ. 2539
สถานการณ์โรคในประเทศไทย : มีรายงานการพบผู้ป่วยโรคลีเจียนแนร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นผู้ป่วยชาวไทย ต่อมาพบผู้ป่วยชาวต่างชาติจากยุโรปที่ป่วยเป็นโรคลีเจียนแนร์เกือบทุกปี แต่มีจำนวน ไม่มาก เช่นในปี พ.ศ. 2542 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ที่จังหวัดเชียงใหม่และล่าสุดในปี พ.ศ. 2553 พบผู้ป่วยเป็นนักท่องเที่ยวชาวสกอตแลนด์ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประวัติเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและสูบบุหรี่จัดร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการรายงานโรคจากหน่วยงานต่างประเทศ เช่น European Working Group for Legionella Infection (EWGLI) Network ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและควบคุมโรคลีเจียนแนร์ในระหว่างกลุ่มสมาชิกรวม 29 ประเทศ ซึ่งเมื่อประเทศในกลุ่มสมาชิกพบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 ราย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวต่างประเทศ และพักอยู่โรงแรมเดียวกัน (โดยพิจารณาจากระยะฟักตัวของโรค) จะมีการดำเนินการแจ้งข้อมูลไปยังหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศที่เกิดเหตุและหน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศในเครือสมาชิก จากข้อมูลการเฝ้าระวังของ EWGLI ระบุว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจากโรงแรมในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - 2553 มีจำนวน 109 ราย (ดังรูปที่ 6) ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่างๆ ได้ทั่วโลก ดังนั้น จึงได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โดยการแจ้งให้โรงแรม และบริษัทธุรกิจดูแลทำความสะอาดระบบเครื่องปรับอากาศ และนํ้าหล่อเย็น รวมถึงการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้สูบบุหรี่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกวดขันเรื่องมาตรการการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มแข็งกับธุรกิจโรงแรม สปา ให้มีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในระบบนํ้าทั้งโรงแรม โดยเฉพาะในท่อส่งนํ้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
รูปที่ 6 จำนวนผู้ป่วยโรค Legionaire ในประเทศไทยจำแนกตามปี พ.ศ. 2536 - 2553 จากข้อมูลการ
เฝ้าระวังของ European Working Group forLegionella Infection (EWGLI) Network
3. อาการของโรค : มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และมีไข้สูง โดยทั่วไปมักพบอาการใน 2 - 5 วัน ปวดท้อง และอุจจาระร่วงเกิดขึ้นตามมา โรคลีเจียนแนร์เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมและมีอาการไอ ไม่มีเสมหะ ปอดมีการอักเสบเป็นปื้นหรือจุดขาว(ดังรูปที่ 7 และ 8) ถ้าเป็นมากอาจพบลุกลามได้ในปอดทั้งสองข้าง การป่วยค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทำให้การหายใจล้มเหลว ส่วนผู้ป่วยไข้ปอนเตียกจะสามารถหายได้เองและไม่มีอาการปอดอักเสบหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
รูปที่ 7 เชื้อลีเจียนเน็ลล่าในเนื้อเยื่อปอด
รูปที่ 8 โรคลีเจียนแนร์ที่ปอดข้างขวา
4. ระยะฟักตัวของโรค : ปรากฏอาการในช่วง 2-10 วันหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการภายใน 5-6 วัน โรคไข้ปอนเตียกจะปรากฏอาการในช่วง 5-72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง
5. การวินิจฉัยโรค : อาศัยการแยกเชื้อก่อโรคจากเนื้อเยื่อหรือนํ้ามูก นํ้าลาย โดยใช้อาหารเพาะเชื้อที่เฉพาะต่อเชื้อชนิดนี้ (BCYE∝), การตรวจหาเชื้อLegionella pneumophila serogroup 1 จากปัสสาวะ หรือโดยการตรวจพบ immunofl uorescent antibody titerขึ้นสูงมากหรือมากกว่า 4 เท่า เทียบนํ้าเหลืองเจาะครั้งแรกกับอีกครั้งห่างกัน 3-6 สัปดาห์ วิธีที่ใช้ในการตรวจหาแอนติเจนในปัสสาวะและการตรวจหาแอนติบอดีส่วนใหญ่จะให้ผลต่อ L. pneumophila ดังนั้นโรคที่เกิดจาก species อื่น จะตรวจไม่พบ จึงควรเน้นความสำคัญไปที่การเพาะเชื้อ เกี่ยวข้องหรือสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ แต่ความไวและความจำเพาะของผลที่ได้ จะมีค่าความแปรปรวนสูงขึ้นกับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยไข้ปอนเตียกมักจะระบุจากอาจใช้วิธีย้อมสี Direct immunofl uorescent antibody stain เนื้อเยื่อที่อาการที่มีความสอดคล้องกับกลุ่มโรคทางระบาดวิทยา การทดสอบแอนติเจนจากปัสสาวะและเซรุ่มสามารถใช้ยืนยันผลการวินิจฉัยได้ แต่ความแม่นยำของการวินิจฉัยจะตํ่ากว่า
6. การรักษา : ไข้ปอนเตียกจะจำกัดตัวมันเองและไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ สำหรับคำแนะนำในการรักษาโรคลีิเจียนแนร์ คือ ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในกลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)เช่น ยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) หรือยาแมคโครไลด์ (Macrolide) ชนิดใหม่ ยาอะซิโทรมัยซิน(Azithromycin) การศึกษาจากการสังเกตชี้ให้เห็นว่ายาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) อาจจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาแมคโครไลด์ (Macrolide) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ยาไรแฟมปิซิน (Rifampicin)ถูกนำมาใช้ร่วมด้วยในผู้ป่วยที่การรักษาล้มเหลว แต่ข้อมูลที่ใกล้เคียงข้อสนับสนุนนี้ยังมีไม่เพียงพอ แต่ยาในกลุ่มยาเพนิซิลินเพนิซิลลิน (Penicillin), ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) และยาอะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) จะใช้รักษาไม่ได้ผล
7. การแพร่ติดต่อโรค : แพร่กระจายได้ในอากาศ ส่วนทางอื่นก็อาจจะเป็นไปได้ รวมถึงการหายใจนำเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในละอองฝอยของนํ้าเข้าไป การสำลักนํ้าที่มีเชื้อเข้าไปในปอดและการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยผ่านทางบาดแผล ส่วนการแพร่เชื้อจากคนไปสู่คนยังไมมี่ปรากฎ
8. มาตรการป้องกันโรค : แหล่งนํ้าที่มนุษย์สร้างเป็นแหล่งแพร่โรคปฐมภูมิของโรคลีเจียนแนร์ ดังนั้นจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงสภาวะที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อ Legionella เมื่อไม่ได้ใช้งานหอหล่อเย็น ต้องเปิดนํ้าทิ้งให้แห้ง และทำความสะอาดล้างคราบไคลและตะกอนเติม Biocides ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการก่อตัวของไบโอฟิล์ม ตั้งอุณหภูมิระบบนํ้าร้อนให้สูงกว่าหรือเท่ากับ 50oซ. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อห้ามใช้นํ้าประปาเติมในเครื่องช่วยหายใจ
9. มาตรการควบคุมการระบาด : ค้นหาปัจจัยเสี่ยงร่วมและทบทวนบันทึกการบำรุงรักษาระบบนํ้าที่ออาจเป็นแหล่งโรค ในการหาสาเหตุของการระบาดนั้นอาจมีความจำเป็นต้องเพาะเชื้อจากแหล่งโรค การแก้ไข / ฟื้นฟูแหล่งนํ้าทำได้โดยการเติมคลอรีน และ/หรือให้ความร้อนระดับสูงซึ่งพบว่า ได้ผลดี การบำรุงรักษาและการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสมใน อ่างนํ้าวนของสปา, หอหล่อเย็น, และแหล่งนํ้าดื่ม เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการระบาด
เอกสารอ้างอิง:
1. Department of Health and Human Services,Center for Disease Control and Prevention.Procedures for Recovery of Legionella from theEnvironment. Atlanta (U.S); 2005.
2. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, AmericanAssociation of Public Health, 2008.
3. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s, editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia(USA): Elsevier; 2010.
ที่มา: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข