ชมรมเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริม พัฒนา วิจัย เพื่อความสุข สุขภาพดี และความปลอดภัยในการเดินทาง


บทสัมภาษณ์ ร.ศ. นพ. พรเทพ จันทวานิช , นพ. วัชรพงศ์ ปิยะภาณี 
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

Q: ชมรมเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเริ่ม ก่อตั้งเมื่อใด
A: ในปี พ.ศ. 2544 มีการประชุม Asia Pacific Travel Health Society Conference ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย แพทย์ไทยที่เข้าร่วมประชุม จึงมีแนวคิดที่จะริเริ่มจัดตั้งชมรมเวชศาสตรก์ ารเดินทางและท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อส่ง เสริมและสนับสนุนงานในสาขาวิชานี้ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมฯ ภายใต้สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์มุกดาตฤษณานนท์ เป็นประธานคนแรกของชมรมฯ มีกรรมการและสมาชิกเป็นบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุของค์กรและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันชมรมมีสมาชิกประมาณ 200 คน

Q: อยากให้อาจารย์กล่าวถึงกิจกรรมที่ชมรมจัดขึ้นหรือมีส่วนร่วมในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งที่กำลังริเริ่มจัดขึ้น
A: ชมรมฯ มีการจัดการประชุมวิชาการทุกปีรวมถึงการจัดประชุมวิชาการสัญจรนอกสถานที่ เช่น ปี 2553 ได้จัดการประชุมสัญจรที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรีซึ่งมีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยวทางทะเลและในปีนี้จะจัดประชุมสัญจรไปที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะมีการบรรยายให้ความรู้ในเรื่องการจัดการด้านมาตรฐานและความปลอดภัยในการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยชมรมฯ มีส่วนร่วมในการประชุมวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การประชุมวิชาการแพทย์ 3 สถาบัน จัดโดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ซึ่งมีวิทยากรจากชมรมฯ 4 คนได้บรรยายเกี่ยวกับความรู้เรื่องการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยชมรมมีส่วนร่วมการจัดประชุมวิชาการของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ซึ่งจะมีการจัดการประชุมวิชาการเรื่อง Adult and Travel Immunization ทุก ๆ 2 ปีซึ่งได้ร่วมจัดกันมา 3 ครั้ง และมีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สนใจเข้าฟังเป็นจำนวนมากส่วนกิจกรรมอื่นๆที่ทางชมรมฯ จัดขึ้น ได้แก่ การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ประกอบการการทอ่ งเที่ยว ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นใหกั้บนักท่องเที่ยว รวมถึงจัดใหผู้เข้า รับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริง เช่น การปั้มหัวใจ การพันผ้าเข้าเฝือก การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีต่างๆ ซึ่งการอบรมดังกล่าวมีเหตุมาจากเมื่อ 2 -3 ปีก่อนมีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจากหัวใจวายขณะกำลังส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ทำให้ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี เล็งเห็นความสำคัญของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงเชิญทางชมรมฯจัดอบรมดังกล่าวนอกจากนี้ทางชมรมกำลังจัดทำหนังสือ “ท่องเที่ยวสุนทรีย์ ชีวีเป็นสุข” ซึ่งจะให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยสำหรับประชาชนทั่วไป

Q: วัตถุประสงค์ หรือแนวคิดหลักของชมรมเวชศาสตร์การ ท่องเที่ยวและการเดินทาง
A: เจตนารมณ์ของชมรมคือ การส่งเสริม พัฒนา ศึกษาวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์การเดินทาง และการท่องเที่ยว อันจะนำมาซึ่งความสุข ความมีสุขภาพดี และความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวแก่ประชาชนทั่วไป

Q: ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศมีมากน้อยเพียงใดและปัญหาอะไรบ้างที่พบบ่อย
A: จากตัวเลขของกระทรวงการท่องเที่ยวพบว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในแต่ละปีประมาณ 18 ล้านคน ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปต่างประเทศปีละประมาณ 5 ล้านคน ปัญหาหลักๆ ที่พบในนักท่องเที่ยวคือ โรคท้องเสีย โรคทางระบบทางเดินหายใจและอุบัติเหตุต่างๆ ส่วนสาเหตุที่ทำใหนั้กท่องเที่ยวเสียชีวิตมากที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือด อุบัติเหตุ ส่วนสาเหตุจากโรคติดเชื้อพบได้น้อยกว่า แต่ปัจจุบันมีโรคติดเชื้อหลายชนิดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

Q: การเตรียมตัวก่อนเดินทางของนักเดินทาง
A: จากการศึกษาวิจัยของนายแพทย์วัชรพงศ์ ปิยะภาณี หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ท่องเที่ยว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การตระหนักถึงปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางในนักท่องเที่ยวไทยยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก จากการสำรวจชาวต่างชาติ ที่ถนนข้าวสารพบว่ากว่าร้อยละ 30 ได้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและไดรั้บวัคซีนมาก่อนที่จะเดินทางมาในประเทศไทย ส่วนในคนไทยและชาวเอเชีย มีอัตราการไปปรึกษาแพทย์ก่อนการเดินทางน้อยมาก

Q: หลักเกณฑ์พิจารณาในการรับวัคซีนของนักทอ่ งเที่ยว
A: ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวแต่ละคน โดยแพทย์จะต้องพิจารณาหลายปัจจัยเช่นเดินทางไปประเทศไหน ไปส่วนไหนของประเทศนั้น ระยะเวลาที่อยู่ จุดประสงค์การเดินทาง กิจกรรมที่คาดว่าจะทำ โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา หรือวัคซีนประวัติเรื่องยาหรือวัคซีนที่เคยได้รับเป็นต้น เพราะนักท่องเที่ยว แต่ละคนจะมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

 - ผู้ที่จะเข้ารวมพิธีฮัจจ์และอุมเราะห์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย นักเรียนนักศึกษาที่ไปอยู่ในหอพักในสถานศึกษาที่ประเทศอเมริกาหรืออังกฤษควรพิจารณารับวัคซีน ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningococcal vaccine) และในหลายมหาวิทยาลัยถูกกำหนดเป็นข้อบังคับที่นักเรียน นักศึกษาทุกคนต้องได้รับวัคซีนก่อนเข้าเรียน เนื่องจากสามารถแพร่เชื้อสู่กันได้ง่ายในที่ซึ่งมีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น

 - นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศในแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงของโรคไข้เหลือง ต้องได้รับวัคซีนไข้เหลืองก่อนการเดินทาง

 - วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี ข้อแนะนำเดิมคือถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดไม่ถึงเดือนก็ไม่จำเป็นต้องฉีด เนื่องจากโอกาสได้รับเชื้อน้อยมากเมื่อเทียบกับโอกาสพบอาการข้างเคียงของวัคซีนเดิม (ชนิดที่เตรียมจากสมองหนู) แต่ในปัจจุบันมีวัคซีนชนิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต ทำให้วัคซีนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเมื่อพิจารณาจากโรคนี้มีอัตราเสียชีวิตและพิการสูงมากทำให้มีการฉีดวัคซีนให้นักท่องเที่ยวมากขึ้น

ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิจารณาจะฉีดวัคซีนใดๆ จะต้องพิจารณาให้รอบด้านทั้งด้านความเสี่ยงของโรค ความรุนแรงของโรค ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการพิจารณาและให้คำปรึกษาในนักท่องเที่ยวเป็นรายๆไป

Q: ในการรับวัคซีนควรมีระยะก่อนเดินทางนานแค่ไหน
A: ประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนเดินทาง เนื่องจากวัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องฉีดหลายครั้งก่อนที่จะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นและเพื่อเฝ้าระวัง ให้คำแนะนำและดูแลรักษาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากวัคซีน

Q: เนื่องด้วยโรคระบาดมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง อย่างเช่นกรณี การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ปัจจุบันมีการป้องกันอย่างไรบ้าง
A: ปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งในระดับหน่วยงานของรัฐกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก ฯลฯ ในส่วนของเครือข่ายทางวิชาการปัจจุบันมี GeoSentinel Surveillance Network ซึ่งเป็นเครือข่ายของสถาบันทางการแพทย์ในประเทศต่างๆทั่วโลกร่วมมือกันทางวิชาการเพื่อ เฝ้าระวังโรคระบาดหรืออันตรายในนักท่องเที่ยว ซึ่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้เข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ทำให้เกิดการประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลกันอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Q: ผู้ที่สนใจติดต่อสอบข้อมูลต่างๆ สามารถติดต่อมาทางใดบ้าง
A: ทางเว็ปไซต์ www.thaitravelclinic.comหรือทางเบอร์โทรศัพท์ 02-354-9100 ต่อ 1405 , 02-306-9145 คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง

ที่มา: Vaccine News โดยบริษัทซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด

ไฟล์แนบบทความ
 Download [127 kb]