แนวทางการให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาในเด็ก
Guidance on antibiotic therapy in children with drug-resistant Gram-negative infections
-------------------------------------------
1. วัตถุประสงค์ : เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาในเด็ก รวมถึงขนาดยาและการบริหารยาที่เหมาะสม โดยเน้นเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาที่พบบ่อยในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับกุมารแพทย์ทั่วไป
2. คำจำกัดความ
- Multidrug-Resistant Organisms (MDROs) หมายถึง เชื้อก่อโรคโดยเฉพาะเชื้อเเบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาตั้งเเต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
- Extended-spectrum beta-lactamases producing Enterobacterales (ESBLs) หมายถึง เชื้อกลุ่ม Enterobacterales ที่สามารถสร้างเอนไซม์ extended-spectrum beta-lactamases โดยเอนไซม์จะทำลายยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillins เเละ third generation-cephalosporins เเต่ถูกยับยั้งได้ด้วย beta-lactamase inhibitors พิจารณาจากผลความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่พบว่าเชื้อจะดื้อต่อยา ceftriaxone, cefepime เเต่ยังคงมีความไวต่อยา cefoxitin, amoxicillin-clavulanic acid, piperacillin-tazobactam, carbapenems
- Plasmid-mediated AmpC beta-lactamases producing Enterobacterales (AmpC) หมายถึง เชื้อกลุ่ม Enterobacterales ที่สามารถสร้างเอนไซม์ AmpC beta-lactamase โดยเอนไซม์จะทำลายยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillins เเละ third generation-cephalosporins และไม่สามารถยับยั้งได้ด้วย beta-lactamase inhibitors พิจารณาจากผลความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่พบว่าเชื้อจะดื้อต่อยา cefoxitin, ceftriaxone, amoxicillin-clavulanic acid, piperacillin-tazobactam เเต่เชื้อยังคงมีความไวต่อยา cefepime เเละยากลุ่ม carbapenems
หมายเหตุ ในแนวทางนี้ จะขอจัดกลุ่ม ESBLs และ AmpC เป็นกลุ่ม third-generation cephalosporins-resistant Enterobacterales เนื่องจากในทางปฏิบัติ ห้องปฏิบัติการไม่ได้ตรวจการสร้างเอนไซม์ดังกล่าว
- Carbapenem-resistant Enterobacterales (CRE) หมายถึง เชื้อกลุ่ม Enterobacterales ที่ดื้อต่อยากลุ่ม carbapenems อย่างน้อย 1 ชนิด ได้แก่ ertapenem, meropenem, imipenem/cilastatin, doripenem
- Carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii (CRAB) หมายถึง เชื้อ A. baumannii ที่ดื้อต่อยากลุ่ม carbapenems เช่น meropenem, imipenem/cilastatin, doripenem ยกเว้นยา ertapenem ซึ่งไม่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อ A. baumannii CRAB ในที่นี้หมายรวมถึงเชื้อ Acinetobacter สายพันธุ์อื่น ๆ ในกลุ่ม baumannii และ calcoaceticus complexes ซึ่งอาจแยกได้ยากทางห้องปฏิบัติการจากเชื้อ A. baumannii เชื้อ CRAB ดื้อยา carbapenems ด้วยการสร้างเอนไซม์ carbapenemases และ metallo-beta-lactamases ทำให้ดื้อยากลุ่ม beta-lactams เกือบทั้งหมด นอกจากนี้เชื้อ CRAB ส่วนใหญ่มียีนดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่น ๆ ร่วมด้วย ทำให้การรักษาการติดเชื้อ CRAB เป็นไปอย่างยากลำบาก
- Drug-resistant Pseudomonas aeruginosa ได้แก่
Difficult-to-treat resistance Pseudomonas aeruginosa (DTR-PA) คือ เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่ไม่ไวต่อยาทั้งหมดดังต่อไปนี้ ได้แก่ piperacillin-tazobactam, ceftazidime, cefepime, aztreonam, meropenem, imipenem-cilastatin, ciprofloxacin และ levofloxacin
Carbapenem-resistant Pseudomonas aeruginosa (CRPA) หมายถึง เชื้อ P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยากลุ่ม carbapenems เช่น meropenem, imipenem/cilastatin, doripenem (ทั้งนี้ ไม่นับรวมยา ertapenem ซึ่งไม่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อ P. aeruginosa อยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตาม กลไกการดื้อยาของ P. aeruginosa มีหลายกลไก หากเชื้อดื้อยากลุ่ม carbapenems ตัวใดตัวหนึ่ง อาจไม่ใช่กลไก Beta-lactamase เชื้อยังอาจจะไวต่อยาในกลุ่ม beta-lactams ชนิดอื่น ๆ ที่ครอบคลุมเชื้อ P. aeruginosa เช่น ceftazidime, piperacillin/tazobactam เป็นต้น
3. สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทย
อ้างอิงจาก antibiogram ของ National Antimicrobial Resistant Surveillance Center, Thailand (NARST) พบการดื้อยาของเชื้อ E. coli, K. pneumoniae, A. baumannii, P. aeruginosa ที่สูงขึ้นในแต่ละปีดังรูป (http://narst.dmsc.moph.go.th/)
4. แนวทางการให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาในเด็ก
เชื้อก่อโรค |
แนวทางการให้ยาปฏิชีวนะ |
Third-generation cephalosporin-resistant Enterobacterales |
· แนะนำให้ใช้ carbapenems ในการรักษาการติดเชื้อรุนแรง (serious infection) เช่น bacteremia, sepsis, CNS infection เป็นต้น (โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียกรัมลบที่สร้าง ESBLs และ AmpC) (น้ำหนักคำแนะนำ “++”) · ในกรณีการติดเชื้อไม่รุนแรง (non-severe infection) เช่น uncomplicated UTI ที่เชื้อยังไวต่อยา BL/BI เช่น piperacillin-tazobactam สามารถใช้ยากลุ่มนี้รักษาได้ รวมทั้งกรณีที่เริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่ม 3rd generation cephalosporin หรือ BL/BI และต่อมาผลเชื้อไม่ไวต่อยาที่เริ่มนั้น แต่อาการดีขึ้น ควรพิจารณาสภาวะของผู้ป่วย หากเป็นกลุ่ม high-risk ควรเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะที่เชื้อไวต่อยา แต่หากเป็นกลุ่มผู้ป่วย low-risk อาจพิจารณาให้ยานั้นต่อได้ (น้ำหนักคำแนะนำ “+/-”) · กรณีเชื้อ Enterobacter cloacae, Klebsiella aerogenes, Citrobacter freundii ที่ไว (susceptible, S) ต่อยา cefepime พิจารณาใช้ยา cefepime ได้ ส่วนกรณีรายงาน susceptible dose-dependent (SDD) ให้ใช้ยา cefepime ได้ในขนาดยาที่สูง (น้ำหนักคำแนะนำ “+”) · เมื่ออาการดีขึ้น พิจารณาเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน หากมียาที่ไว เช่น trimethoprim/sulfamethoxazole (TMP/SMX), fluoroquinolones (น้ำหนักคำแนะนำ “++”) |
CRE
|
· หากเชื้อไวต่อยา ceftazidime-avibactam ให้ยา ceftazidime-avibactam เดี่ยวในการรักษา (monotherapy)* (น้ำหนักคำแนะนำ “++”) · หากเชื้อไม่ไวต่อยา ceftazidime-avibactam หรือไม่มียา ceftazidime-avibactam ให้การรักษาด้วย combination therapy ด้วยยาที่เชื้อยังไวอย่างน้อย 2 ชนิด โดยเฉพาะในการรักษาการติดเชื้อรุนแรง ยากลุ่มที่พิจารณาเลือกใช้ หากเชื้อไวต่อยา ได้แก่ fluoroquinolones, aminoglycosides, colistin, tigecycline, fosfomycin**, meropenem ขนาดสูงและ extended infusion (กรณี MIC ≤8 mcg/mL) (น้ำหนักคำแนะนำ “+/-”) |
CRAB
|
· ให้การรักษาด้วย combination therapy ประกอบด้วยยา sulbactam ขนาดสูง (200 mg/kg/day) ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ๆ ที่มีความไว เช่น colistin, amikacin, TMP/SMX, tigecycline (น้ำหนักคำแนะนำ “+/-”) |
CRPA, DTR-PA |
· หากเชื้อไวต่อยา ceftolozane-tazobactam หรือ ceftazidime-avibactam ให้ยานั้นเป็นยาเดี่ยวในการรักษา (monotherapy) (น้ำหนักคำแนะนำ “+/-”) · หากเชื้อไม่ไวต่อยา ceftolozane-tazobactam หรือ ceftazidime-avibactam หรือไม่มียาดังกล่าว ให้การรักษาด้วย combination therapy ด้วยยาที่เชื้อยังไวอย่างน้อย 2 ชนิด ยากลุ่มที่พิจารณาเลือกใช้ หากเชื้อไวต่อยา ได้แก่ fluoroquinolones, aminoglycosides, colistin, fosfomycin** (น้ำหนักคำแนะนำ “+/-”) |
หมายเหตุ :
- ขนาดยา ceftazidime-avibactam, ceftolozane-tazobactam, cefepime, fosfomycin, tigecycline ในเด็ก ควรปรึกษากุมารแพทย์โรคติดเชื้อ
- ยา tigecycline, fosfomycin ไม่เเนะนำใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา (monotherapy) เชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยา โดยเฉพาะใน severe infection เนื่องจากมีข้อมูลการศึกษาที่จำกัดและมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย
*ยา ceftazidime/avibactam เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี จ(2) อนุมัติการใช้ยาในการรักษา CRE ที่ไวต่อยา ceftazidime-avibactam และใช้ยา colistin แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์
**การใช้ยา fosfomycin ให้พิจารณาผลความไวต่อยา ทั้งนี้ในการรายงานมาตรฐาน (อ้างอิงจาก CLSI) มีค่า breakpoint เฉพาะจากสิ่งส่งตรวจปัสสาวะที่ขึ้นเชื้อ E. coli เท่านั้น (ไวต่อยา หาก disk diffusion zone diameter ≥16 mm หรือ MIC (agar dilution) ≤64 µg/mL) ดังนั้นควรปรึกษากุมารแพทย์โรคติดเชื้อ เพื่อช่วยในการแปลผลความไวต่อยาและช่วยพิจารณาการรักษาโดยใช้ยา fosfomycin ร่วมกับยาตัวอื่น
5. ขนาดยาและการบริหารยาในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยา (Dosing guideline)
ตารางที่ 1 ขนาดยาและการบริหารยาในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาในทารกและเด็กที่ค่าการทำงานของไตปกติ
Antibiotics |
Usual dose |
Maximum dose |
Dose adjustment when |
|
Neonates |
Infant, Children |
|||
Piperacillin/tazobactam (บัญชี ง) |
Postmenstrual age ≤30 weeks: 100 mg of piperacillin/kg/dose q8h Postmenstrual age >30 weeks: 80 mg of piperacillin/kg/dose q6h |
· 100 mg of piperacillin/kg/dose q6-8h · Extended infusion* over 3-4 hours is preferred |
4 g piperacillin/dose = 4.5 g piperacillin-tazobactam/dose q6h
|
Adjust for CrCl <40 ml/min/1.73m2 |
Meropenem (บัญชี ง) |
Gestational age <32 weeks: - Postnatal age <14 days: 20 mg/kg/dose IV q12 h - Postnatal age ≥14 day: 20 mg/kg/dose IV q8h Gestational age ≥32 weeks: - Postnatal age <14 days: 20 mg/kg/dose IV q8h - Postnatal age ≥14 days 30 mg/kg/dose IV q8h
กรณี CNS infection, severe infection or MDR pathogens: 40 mg/kg/dose โดยใช้ช่วงห่างของการให้ยาตามช่วงอายุ |
· 20-40 mg/kg/dose q8h · CNS infection, severe infection or MDR pathogens: 40 mg/kg/dose q8h · Extended infusion* over 3-4 hours is preferred in severe infection and MDR pathogens |
2g q8h |
Adjust for CrCl ≤50 ml/min/1.73m2 |
Colistin (บัญชี ง) |
2.5-5 mg CBA/kg/day IV in 2 or 4 divided doses |
โดสแรก 4-5 mg CBA/kg/dose (max 300 mg), จากนั้น maintenance dose 2.5 mg CBA/kg/dose q12h หมายเหตุ : ผู้ป่วยที่มีภาวะ SIRS หรือ augmented renal clearance (ARC) เช่น eGFR > 130 mL/min/1.73 m2 อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยา maintenance dose เป็น 10 mg CBA/kg/day |
300 mg CBA/day หมายเหตุ : ผู้ป่วยที่มีภาวะ SIRS หรือ ARC อาจพิจารณาขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 360 mg CBA/day |
Adjust for CrCl < 50 ml/min/1.73m2 |
Amikacin** (บัญชี ข) |
Gestational age <30 weeks: - Postnatal age ≤14 days: 15 mg/kg/dose IV q48h - Postnatal age >14 days 15 mg/kg/dose IV q24h Gestational age 30-34 weeks: - Postnatal age ≤14 days: 15 mg/kg/dose IV q36h - Postnatal age >14 days: 15 mg/kg/dose IV q24h Gestational age ≥35 weeks: - Postnatal age ≤7 days: 15 mg/kg/dose IV q24h - Postnatal age >7 days: 18 mg/kg/dose IV q24h |
15-30 mg/kg/dose IV q24h |
30 mg/kg/dose q24h |
Adjust for CrCl < 60 ml/min/1.73m2 |
Sulbactam (Sulbactam: ยานอกบัญชี, Ampicillin/sulbactam: บัญชี ค, Cefoperazone/sulbactam: บัญชี ง)
|
Neonates: 100 mg/kg/day Preterm: divided into q 12 h Term: divided into q 8 h |
· 200 mg/kg/day IV in 3-4 divided doses · Extended infusion* over 4 hours is preferred |
· Sulbactam ไม่เกิน 12 g/day (adult data) · กรณีที่ใช้ยารูปแบบผสม ต้องไม่เกินขนาดยาสูงสุดของ ampicillin (400 mg/kg/day หรือ ไม่เกิน 12 g/day) หรือ cefoperazone (160 mg/kg/day หรือ ไม่เกิน 8 g/day) |
Adjust for CrCl < 30 mL/min/1.73m2 |
Ceftazidime/avibactam (2g/0.5g/vial) (บัญชี จ2) |
Not approve in infant age <3 months |
อายุ 6 เดือนขึ้นไป : 50 mg/kg/dose of ceftazidime IV q8h (infusion over 2 hours) อายุ 3 – <6 เดือน : 40 mg/kg/ dose of ceftazidime IV q8h (infusion over 2 hours) |
2 g/0.5 g q8h |
Adjust for CrCl ≤50 ml/min/1.73m2 |
Ceftolozane/tazobactam (1g/0.5g/vial) (ยานอกบัญชี) |
20 mg/kg/dose of ceftolozane IV q8h |
20 mg/kg/dose of ceftolozane IV q8h |
1 g/0.5 g q8h |
Use is not recommended in patient with CrCl ≤50 ml/min/1.73m2 |
Tigecycline# (ยานอกบัญชี)
|
โดสแรก 1.5-3 mg/kg/dose IV จากนั้น 1-2 mg/kg/dose IV q12h (infusion in 30-60 minutes) |
อายุ <8 ปี: โดสแรก 1.5-3 mg/kg/dose จากนั้น 1-2 mg/kg/dose q12h |
50 mg per dose |
No dosage adjustment (based on adult study)
|
อายุ 8-11 ปี: โดสแรก 2 mg/kg/dose จากนั้น 1.2 mg/kg/dose q12h พิจารณาให้ยาขนาดสูงขึ้นในการรักษา HAP/VAP, cUTI, BSI, shock: โดสแรก 3-4 mg/kg/dose จากนั้น 2-3.2 mg/kg/dose IV q12h |
Usual dose (susceptible infection): 50 mg per dose
High dose (severe or MDR infection) โดสแรก 200 mg โดสถัดไป 100 mg q12h
|
|||
อายุ ≥12 ปี: โดสแรก 100 mg จากนั้น 50 mg IV q12h พิจารณาให้ยาขนาดสูงขึ้นในการรักษา HAP/VAP, cUTI, BSI, shock: โดสแรก 200 mg จากนั้น 100 mg IV q12h |
||||
Fosfomycin (บัญชี ง) |
PMA <40 weeks: 100 mg/kg/day IV in 2 divided doses
PMA 40-44 weeks: 200 mg/kg/day IV in 3 divided doses |
น้ำหนัก <10 กก.: 200-300 mg/kg/day in 3 divided doses
น้ำหนัก 10-40 กก.: 200-400 mg/kg/day in 3-4 divided doses น้ำหนัก >40 กก.: 12-24 g/day in 3-4 divided doses ในกรณีที่ติดเชื้อ Bacterial meningitis เเนะนำ 16-24 g/day |
8 g/dose, 24 g/day
|
Adjust for CrCl ≤40 ml/min |
HAP; hospital-acquired pneumonia, VAP; ventilator-associated pneumonia, cUTI; complicated urinary tract infection, BSI; bloodstream infection, PMA; postmenstrual age
*วิธีการให้ยาแบบ extended infusion โดสแรกบริหารยาโดยหยดเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 30-60 นาที จากนั้นโดสถัดไปจึงบริหารยาโดย extended infusion (IV drip ในระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง ตามขนาดยาข้างต้น)
**การให้ยา amikacin ในโรงพยาบาลที่สามารถส่งตรวจวัดระดับยาได้ ควรตรวจวัดระดับยา (trough level) เพื่อป้องกันการเกิดพิษต่อไตจากยา โดยเจาะก่อนการให้ยาโดสที่ 2 (10-15 ชั่วโมงหลังจากให้ยาโดสแรกในผู้ป่วยเด็กที่มีการทำงานของไตเป็นปกติ)
# US FDA ไม่อนุมัติการใช้ยา tigecycline ในเด็กอายุ <8 ปี เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการสร้างผิวเคลือบฟัน (enamel hypoplasia) และฟันเปลี่ยนสีถาวร อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาใช้ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกยาชนิดอื่นในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน
ตารางที่ 2. ขนาดยาและการบริหารยาในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยาในเด็กที่ค่าการทำงานของไตบกพร่อง
หลักทั่วไป : กรณี severe sepsis ในวันแรกพิจารณาให้ยาโดยไม่ต้องปรับขนาดยาตามการทำงานของไตในวันที่ผู้ป่วยได้รับ hemodialysis เเนะนำให้ยาหลังล้างไตเเละไม่ต้องบริหารยาแบบ extended infusion
Antibiotics |
CrCl (mL/min) |
Dialysis |
|||||
Piperacillin/tazobactam Dosing based on piperacillin component and extended infusion method (except in hemodialysis patient) |
CrCl >40 |
CrCl 20-40 |
CrCl <20 |
Peritoneal dialysis |
Intermittent hemodialysis |
CRRT based on eGFR >50 mL/min |
|
100 mg/kg/dose q6-8h |
70 mg/kg/dose q8h |
70 mg/kg/dose q12h |
50-100 mg/kg/dose q12h |
50-100 mg/kg/dose q12h |
100 mg/kg/dose q8h |
||
Meropenem |
CrCl >50 |
CrCl > 25 - ≤50 |
CrCl 10 - ≤50 |
CrCl <10 |
Peritoneal dialysis |
Intermittent hemodialysis |
CRRT based on eGFR >50 mL/min |
Usual dose |
20 mg/kg/dose q8h (max: 2 g/dose) |
20 mg/kg/dose q12h (max: 2 g/dose) |
10 mg/kg/dose q12h (max: 1 g/dose) |
10 mg/kg/dose q24h (max: 1 g/dose) |
10-20 mg/kg/dose q24h (max: 1 g/dose) |
25 mg/kg/dose q24h or 40 mg/kg/dose q48h (max 2 g/dose) after dialysis |
20-40 mg/kg/dose q8h (max: 2 g/dose) |
High dose |
40 mg/kg/dose q8h (max: 2 g/dose) |
40 mg/kg/dose q12h (max: 2 g/dose) |
20 mg/kg/dose q12h (max: 1 g/dose) |
20 mg/kg/dose q24h (max: 1 g/dose) |
|||
Colistin (adult data) |
Maintenance dose 5 mg CBA/kg/day divided q12h |
3.5 mg CBA/kg/day divided q12h |
2.5 mg CBA/kg/day divided q12h |
1.5 mg CBA/kg/day divided q12h |
|
วันที่ไม่ได้ล้างไต1.5 mg CBA/kg/day divided q12h วันที่ล้างไต - 1.5 mg CBA/kg/dose before dialysis - 1.5 mg CBA/kg/dose after dialysis |
6 mg CBA/kg/day divided q12h |
Amikacin |
CrCl >60 |
CrCl 40-59 |
CrCl 20-39 |
CrCl <20 |
Peritoneal dialysis |
Intermittent hemodialysis |
CRRT |
• ในโรงพยาบาลที่สามารถส่งตรวจวัดระดับยา amikacin ได้ ควรตรวจวัดระดับยา (trough level) โดยเจาะก่อนการให้ยาโดสที่ 2 • อาจพิจารณาเจาะ peak 30-60 min หลังจากหยดยาเสร็จและเจาะ trough ภายใน 30 นาทีก่อนให้ยาโดสถัดไป |
|||||||
15-30 mg/kg/dose IV q24h |
15-30 mg/kg/dose q36h |
15-30 mg/kg/dose q48h |
5-7.5 mg/kg/dose then follow up drug levels |
5-7.5 mg/kg/dose then follow up drug levels |
5 mg/kg/dose post dialysis then follow up drug levels |
15 mg/kg/dose IV q24h or 7.5 mg/kg/dose q12h ECMO: 15 mg/kg/dose IV q24h |
|
Sulbactam |
CrCl >30 |
CrCl 15-<30 |
CrCl <15 |
Peritoneal dialysis |
Intermittent hemodialysis |
CRRT |
|
200 mg/kg/day q6-8h ไม่ต้องปรับขนาดยา **ในกรณีที่ใช้ ampicillin/sulbactam ให้ปรับขนาดยาโดยอ้างอิง ampicillin เป็นหลัก** |
eGFR 15-29.9 mL/min/1.73 m2 150 มก./กก./วัน ของ sulbactam IV แบ่งให้ทุก 8-12 ชั่วโมง ให้หยดเข้าทางหลอดเลือดดำใน 60 นาที/โดส (ไม่จำเป็นต้องให้ยาแบบ extended infusion) |
75-100 มก./กก./วัน ของ sulbactam IV วันละครั้ง ให้หยดเข้าทางหลอดเลือดดำใน 60 นาที/โดส (ไม่จำเป็นต้องให้ยาแบบ extended infusion) กรณี IHD ให้ยาซ้ำหลังทำ dialysis |
|
||||
Fosfomycin |
CrCl >40 |
CrCl 31-40 |
CrCl 21-30 |
CrCl 11-20 |
CrCl ≤ 10 |
Hemodialysis, intermittent |
CVVH (post dilution) |
|
ไม่ต้องปรับขนาดยา |
โดสแรก ให้ขนาดยาสองเท่าของ maintenance dose (ไม่เกิน 8 g) first dose should be doubled but should not exceed 8 g |
Usual dose at the end of dialysis |
No dosage adjustment necessary |
|||
70% of daily dose in 2-3 divided doses
|
60% of daily dose in 2-3 divided doses |
40% of daily dose in 2-3 divided doses |
20% of daily dose in 1-2 divided doses |
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กได้ที่ เวบไซต์สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (https://pidst.or.th) และเวบไซต์สาขาวิชาโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://pedid.md.chula.ac.th/th/content/topic/1/antimicrobials)
References
1. Antibiograms. National Antimicrobial Resistant Surveillance Center, Thailand (NARST) [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/
2. Tamma PD, Aitken SL, Bonomo RA, et al. Infectious Diseases Society of America 2022 Guidance on the Treatment of Extended-Spectrum β-lactamase Producing Enterobacterales (ESBL-E), Carbapenem-Resistant Enterobacterales (CRE), and Pseudomonas aeruginosa with Difficult-to-Treat Resistance (DTR-P. aeruginosa). Clin Infect Dis 2022;75:187-212.
3. Paul M, Carrara E, Retamar P, et al. European Society of Clinical Microbiology and Infectious Diseases (ESCMID) guidelines for the treatment of infections caused by multidrug-resistant Gram-negative bacilli. Clin Microbiol Infect 2022;28:521-547.
4. Tamma PD, Aitken SL, Bonomo RA, et al. Infectious Diseases Society of America 2023 Guidance on the Treatment of Antimicrobial Resistant Gram-Negative Infections. Clin Infect Dis 2023 Jul 18:ciad428. doi: 10.1093/cid/ciad428.
5. Chongcharoenyanon T, Wacharachaisurapol N, Anugulruengkitt S, et al. Comparison of piperacillin plasma concentrations in a prospective randomised trial of extended infusion versus intermittent bolus of piperacillin/tazobactam in paediatric patients. Int J Infect Dis. 2021;108:102-8.
6. Tsuji BT, Pogue JM, Zavascki AP, et al. International Consensus Guidelines for the Optimal Use of the Polymyxins: Endorsed by the American College of Clinical Pharmacy (ACCP), European Society of Clinical Microbiology and Infectious Diseases (ESCMID), Infectious Diseases Society of America (IDSA), International Society for Anti-infective Pharmacology (ISAP), Society of Critical Care Medicine (SCCM), and Society of Infectious Diseases Pharmacists (SIDP). Pharmacotherapy 2019;39:10-39.
7. Sutton AM, Turner TL, Cockburn F, McAllister TA. Pharmacokinetic study of sulbactam and ampicillin administered concomitantly by intraarterial or intravenous infusion in the newborn. Rev Infect Dis 1986;8 Suppl 5:S518-22.
8. Pediatric and Neonatal Lexi-Drugs online 2023 (data retrieved on Aug, 2023)
9. Drug monograph. IBM Micromedex Solutions. Truven Health Analytics, Inc. Ann Arbor, MI. Accessed August 24, 2023. http://www.micromedexsolutions.com.
10. Johns Hopkins Hospital, Camille C. Anderson, MD, Sunaina Kapoor. The Harriet Lane Handbook, 23rd Edition, 2023. Elsevier. 1312 pages.
11. แนวทางการกำกับการใช้ยา ceftazidime/avibactam โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ วันที่ 29 มีนาคม 2565
12. Aguilera-Alonso D, Escosa-García L, Saavedra-Lozano J, et al. Carbapenem-Resistant Gram-Negative Bacterial Infections in Children. Antimicrob Agents Chemother 2020;64:e02183-19.
13. Chiotos K, Hayes M, Gerber JS, Tamma PD. Treatment of Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae Infections in Children. J Pediatric Infect Dis Soc 2020;9:56-66.