ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อในเด็กทารกที่เสียสมดุลโครงสร้างร่างกาย


 

ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อในเด็กทารกที่เสียสมดุลโครงสร้างร่างกาย

Infection Prone in Anatomical Imbalance Neonates and Infants

 

นายแพทย์ สมศักดิ์ วัฒนศรี

WHO/HQ-IHR Roster of Expert in Infection Control in Health Care Setting

 

 

            เมื่อ ไม่นานมานี้ ขณะที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นวิทยากร ตรวจเยี่ยมหอผู้ป่วยเด็กแรกคลอดที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง พบว่ามีผู้ป่วยเด็กรายหนึ่ง หลังจากคลอดด้วย vacuum extraction 1 วัน ผู้ป่วยมีอาการซึม หลับตลอดเวลา ไม่ดูดนมเอง ได้รับการให้สารน้ำเกลือทางเส้นเลือดบริเวณแขน สลับกันทั้ง 2 ข้าง ต่อมาเกิดการติดเชื้อ มี purulent discharge และ บวมแดงในตำแหน่งที่ให้น้ำเกลือของแขนข้างขวา ข้างซ้ายปกติ เมื่อพิจารณาตรวจโครงสร้างร่างกายทั้งตัวอย่างละเอียด พบความผิดปกติครึ่งตัวข้างขวาตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงมือ คือมีอาการบวมของศีรษะ ใบหน้า ไหล่ อก ทำให้เข้าใจว่า แผลติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ผิวหนังที่บวมด้านเดียวนั้น อาจเกิดจากความบกพร่องของการไหลเวียนของโลหิต น้ำเหลืองและ nerve impulse ที่ไปเลี้ยงบริเวณที่เป็นแผล กลไก defense mechanism ของ ร่างกาย จึงไม่สามารถปกป้องและไวต่อการติดเชื้อมากกว่าแขนอีกข้างหนึ่งซึ่งได้รับการ แทงน้ำเกลือโดยบุคลากรชุดเดียวกัน สิ่งแวดล้อมเดียวกัน การบวมมี ต้นเหตุมาจากการคลอดที่ลำบาก สูติแพทย์ตัดสินใจใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยในการทำคลอดศีรษะ ระหว่างนั้น อาจเกิด birth injury จนเกิดศีรษะ และใบหน้าด้านขวาบวม หนังตาขวาบวมปิด คอและไหล่ผิดรูป ตกต่ำกว่าข้างซ้าย แขนบวมถึงปลายมือ ผิวสีซีด กดบุ๋ม มี poor refill ของ capillaries ผลการตรวจ ทางรังสีเห็น shoulder structure ข้างขวาตกจาก normal position ลงจนต่ำกว่าข้างซ้ายอย่างชัดเจน (รูปที่ 1 และ 2)


DSCF2059

รูปที่ 1 รูปผู้ป่วยที่ภายหลังคลอด มีซีกด้านขวาบวม

 

                เมื่อ ใช้หลักวิชามณีเวช ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสมดุลโครงสร้างร่างกายที่มีผล ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต มีหลักการว่า เมื่อมีการเสียสมดุลโครงสร้าง ซึ่งทราบได้โดยการตรวจหาการเสียสมดุลทางกายวิภาค (anatomical imbalance) ด้วยตาเปล่า มีผลกระทบต่อการไหลเวียนของโลหิต แดง ดำ น้ำเหลือง และระบบประสาท มีผลให้เกิด cellular insufficiency àtissue àorgan dys-function ถ้าทิ้งไว้ ไม่ทำการแก้ไข จะมีโรคต่างๆ ตามมา นอกจากนี้ ยังมีความเจ็บปวด ทุกขเวทนา จากเรื่อง musculo-skeletal disorder ในระยะแรกๆ ด้วย จึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาความสมดุลของโครงสร้างร่างกายเด็กทางกายวิภาค ทุกครั้งที่ตรวจวินิจฉัยและรีบทำการแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ไวรับต่อเชื้อโรค เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งที่เสียสมดุลซ้ำๆ เช่น sinusitis, bronchitis, pneumonia เป็น ต้น บางรายแม้ได้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมถูกต้องแล้ว แต่ยาไปได้ไม่ถึงเป้าหมาย การไหลเวียนโลหิตเสียไปอาจทำให้การรักษาล้มเหลว เปิดโอกาสให้เกิดการดื้อยาได้ง่ายขึ้น

                เมื่อ ได้พิจารณาด้วยความรู้หลายๆ ด้าน (กุมารเวช โรคติดเชื้อ ระบาดวิทยา) โดยนำมาบูรณาการกับวิชามณีเวช (ภูมิปัญญาโบราณแต่อธิบายได้ด้วยหลักการของวิทยาศาสตร์การแพทย์) จึงวินิจฉัยสรุปว่า เด็กแรกเกิดรายนี้มี birth injury ทำให้เกิด anatomical Imbalance เสีย สมดุลโครงสร้างร่างกายซีกขวา ตามมาด้วย การติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ผิวหนังบริเวณแขนข้างขวา ประกอบกับการเสียสมดุลมีผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง ทำให้เด็กซึม ไม่ดูดนมเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต้องรีบแก้ไข  ผู้ ป่วยได้รับการจัดสมดุลด้วยศาสตร์มณีเวช ซึ่งต้องใช้ศิลปะการจัดเรียงกระดูกให้เด็กอย่างนิ่มนวล เบาๆ ตั้งแต่ปลายนิ้วมือไล่ขึ้นไปถึงไหล่และคอจนเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทันทีหลังการจัดให้เกิดสมดุล คือ เด็กสามารถลืมตา รู้สึกตัวดีขึ้น ไหปลาร้าและไหล่ขวายกสูงขึ้นไม่ตก อาการบวมยุบลง ผิวที่ซีดกลับมีสีชมพูตามลำดับ

DSCF2056

รูปที่ 2 ภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วย ก่อนและหลังการจัดสมดุล

               

หลังการรักษาประมาณ 3 ชั่วโมง อาการบวมหายไปหมด ที่สำคัญแผลที่มี purulent discharge นั้น แห้งดูเป็นปกติ ไม่มีอาการอักเสบโดยยังไม่ได้ให้ยาต้านจุลชีพแต่อย่างไร วันต่อมา ภาพรังสีทรวงอกเห็นไหปลาร้าและไหล่ขวาคืนกลับตำแหน่งปกติทรวงอกข้างขวาขยาย ใหญ่กว่าเก่าและหลังรับการรักษาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็ สามารถจำหน่ายกลับบ้านเป็นปกติ ได้สอนการบริหาร ตาชั่งบน และตาชั่งล่าง(ดูรายละเอียดในวารสารมณีเวช) ให้มารดาเด็กไปทำต่อเนื่องที่บ้าน

                ผู้ป่วย birth injury ราย นี้ มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น และได้รับการแก้ไขทันท่วงที ก็ยังควรติดตามดูผลในระยะหนึ่ง หากมารดาไม่เข้าใจในการดูแลเด็กให้มีโครงสร้างร่างกายสมดุล เพราะการเสียสมดุลแต่แรกเกิดอาจทำให้อวัยวะบางส่วนถูกดึงรั้ง ยกตัวอย่างในรายนี้อาจเกิดการดึงรั้ง หลอดลม หลอดอาหารที่อยู่ในลำคอเอียงไปข้างที่มีปัญหา เวลากลืนอาหาร อาจสำลักกลืนไม่ค่อยลง หรือมีการระคายเกิดอาเจียน หรือไอไม่หายจนกลายเป็นไอเรื้อรัง บางรายอาจดึงรั้งโครงสร้างส่วนอก ซี่โครงให้เอียง หรือกระดูกซี่โครงไม่เป็นระเบียบ ช่องระหว่างซี่โครงไม่เท่ากัน อาจมีผลกระทบต่อการหายใจไม่เต็มที่ บางรายมีผลเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ ขนาดใหญ่คือ trachea ไปถึง bronchioles ขนาดเล็ก และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ ติดเชื้อเรื้อรัง รักษายาก หรือโรคกลับซ้ำ(recurrent) จน เป็นผู้ป่วยขาประจำโรงพยาบาล ทำให้เป็นภาระของครอบครัว และระบบบริการสาธารณสุข ทั้งที่สามารถป้องกันได้ หากผู้ป่วยที่เสียสมดุลนี้ ไม่ได้รับการติดตามดูแล เมื่อโตขึ้นเด็กอาจเสียโอกาสในการเรียน หรือมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีพอ

                จึง เป็นอุทาหรณ์ให้กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อหรือภูมิแพ้หอบหืด พิจารณาเรื่องสมดุลโครงสร้างร่างกายของเด็กในกรณีที่พบเด็กที่ป่วยซ้ำซ้อนมา หาบ่อยกว่าเด็กทั่วไป ถ้าพบก็ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้แก้ไขให้ได้ก่อนเด็กจะโตเกินแก้ไข หรือมีผลเสียถาวร

                การเสียสมดุลโครงสร้างร่างกายในเด็กทารกอาจเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในระยะ third trimester ใกล้ คลอด ขณะที่ท้องโตมาก มารดาอาจไม่สะดวกในการนอนหงาย บางคนนอนตะแคงทับข้างเดียวตลอดเวลา มีผลกระทบถึงทารกในครรภ์ที่มีขนาดเต็มมดลูก กดทับจนเสียสมดุลข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่ก่อนคลอด หรืออาจทำให้คลอดลำบาก  เพราะอยู่ในท่าผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิด birth injury ง่าย  มี ทารกอีกจำนวนไม่น้อยที่หลังคลอดก็เป็นปกติ แต่การเลี้ยงดูด้วยความไม่เข้าใจในเรื่องโครงสร้างร่างกาย ทำให้เด็กมีอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนอนคว่ำ ที่มีการบิดคออาจมีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังคดตั้งแต่คอไปถึงสะโพก หรือการนอนตะแคงที่ไม่ได้มีการหนุนรองกระดูกคอให้อยู่ในระดับเดียวกับกระดูก สันหลังทั้งแนว ก็มีผลให้เด็กเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นซ้ำบ่อยๆ เป็นอันตรายและมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการของสมอง บางรายเป็นรุนแรง ถึงกับได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น cerebral palsy (ดูรูป) รายที่ได้รับการแก้ไขทันท่วงทีจะสามารถช่วยให้คืนสู่ความปกติได้พอสมควร

 

พีรญาน์2a3

 

                เหตุการณ์ เด็กนอนคว่ำคอบิด เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างผู้ป่วยที่พบในระหว่างการศึกษาวิจัยวิชามณีเวชของ กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาในชมรมประสิทธิ์มณีเวช ซึ่งพยายามใช้หลักวิทยาศาสตร์ ศึกษาอธิบายภูมิปัญญาที่มีคุณค่าและบูรณาการให้แพทย์แผนปัจจุบันได้ใช้ ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย

                ผู้ ที่สนใจรายละเอียดของการบูรณาการวิชามณีเวชในกุมารเวชกรรม สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผู้เขียน นายแพทย์ สมศักดิ์ วัฒนศรี ประธานชมรมประสิทธิ์มณีเวช e-mail address does_w@hotmail.com