ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม และแนวทางในการดูแลตัวเองเบื้องต้นกรณีที่ต้องเจอปัญหาน้ำท่วมสำหรับพี่น้อง ประชาชนเรืองโรคติดต่อและอันตรายที่มากับภาวะน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม ได้แก่
โรคระบบทางเดินหายใจ (ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม)
อาการสำคัญ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
การป้องกัน
โรคระบบทางเดินอาหาร (ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ)
อาการสำคัญ ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร หรือตัวเหลือง ตาเหลือง
การป้องกัน
1. ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
2. ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
3. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนทำอาหาร ก่อนทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
4. ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ
โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)
อาการสำคัญ มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขาหรือปวดหลัง อาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน
การป้องกัน
โรคน้ำกัดเท้า
อาการโรคน้ำกัดเท้า เท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผื่นผุพอง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
การป้องกัน เหมือนกับการป้องกันโรคฉี่หนู
โรคตาแดง
อาการสำคัญ ตาแดง ระคายเคืองตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตา หนังตาบวม
การป้องกัน
ไข้เลือดออก
อาการสำคัญ มีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน
การป้องกัน
อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย
อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม
อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน
การป้องกัน
ที่มา: http://www.bangkokhealth.com/index.php/General-health/3725-flooding1-1.html