โรคเมลิออยโดสิส (MELIOIDOSIS)

โรคเมลิออยโดสิส(MELIOIDOSIS)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า Burkholderia pseudomallei (ดังรูปที่ 37)

รูปที่ 37 โคโลนีเหี่ยวย่นของ B. pseudomallei ที่ดูคล้าย
โคโลนีของเชื้อรา
2. ระบาดวิทยา :

สถานการณ์ทั่วโลก :
เมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาของหลายประเทศ รายงานว่าประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย เป็นบริเวณที่มีโรคประจำถิ่น (Endemic area) และสามารถตรวจพบโรคนี้ได้บ้างในฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

สถานการณ์โรคในประเทศไทย :
พบผู้ป่วยได้ทุกภาคทั่วประเทศ แต่พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60 - 95) เป็นชาวไร่ชาวนาหรือผู้ที่ทำงานกับดินและนํ้า พบผู้ป่วยมากในฤดูฝน มีรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection)ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง วัณโรค เบาหวาน โรคไต โรคเลือดมะเร็ง และภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เด็กเป็นโรคนี้น้อยกว่าผู้ใหญ่

     จากการคาดคะเนคิดว่าน่าจะมีผู้ป่วยมากกว่าปีละ 2,000 รายในประเทศไทย แต่ขาดการศึกษายืนยันและไม่มีการรายงานในผู้ป่วย ส่วนมากได้ข้อมูลจากการสำรวจระดับแอนติบอดีต่อเชื้อของคนปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพบมีการติดเชื้อ (seroprevalence)ประมาณร้อยละ 20
3. อาการของโรค : อาการแสดงมีหลากหลายตั้งแต่ไม่มีอาการเลย หรือมีจุดที่ปอดแต่ไม่แสดงอาการ จนถึงมีฝีที่ผิวหนัง ฝีที่อวัยวะภายใน เนื้อเยื่อปอดอักเสบตาย หรือติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิต (ดังรูปที่ 38, 39, 40, 41 ตามลำดับ) ซึ่งอาการอาจคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น ไข้ทัยฟอยด์ หรือวัณโรคที่มีโพรงในปอดหนองในช่องปอด ฝีเรื้อรัง และเยื่อกระดูกติดเชื้อ เป็นต้น

รูปที่ 38 ตุ่มหนองที่ผิวหนังจำนวนมากในผู้ป่วยด้วยโรค เมลิออยโดสิส เพศชาย อายุ 46 ป ีซึ่งเปน็ โรคเบาหวานที่
เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อเมลิออยโดสิสในกระแสเลือด (Multiple pustules in a 46-year-old diabetic
man with fatal septicemic melioidosis)

รูปที่ 39 ภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดแสดงหนองในปอดจำนวน
มาก ในผู้ป่วย อายุ 46 ปี ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อเมลิออยโดสิสในกระแสเลือด
(Chest radiography of 46-year-old diabeticpatient with fatal septicemic melioidosis,
showing multiple pulmonary abscesses)

รูปที่ 40 ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดที่มีก้อนหนองขนาดใหญ่ ในผู้ป่วยด้วยโรคเมลิออยโดสิส เพศหญิง
อายุ 26 ปี เสียชีวิตด้วยโรคเมลิออยโดสิส (CT scanof the chest of a 26-year-old woman with
fatal melioidosis, showing large pulmonary abscess)

รูปที่ 41 ฝ้าขาวแผ่กว้างในปอดกลีบบนข้างซ้าย ในผู้ป่วยด้วยโรคเมลิออยโดสิส เพศชาย อายุ 54 ปี เสียชีวิตด้วย
โรคปอดอักเสบจากเมลิออยโดสิส (Extensive left upper lobe consolidation in 54-year-old man
with fatal melioidosis pneumonia)
4. ระยะฟักตัวของโรค : ตั้งแต่ 2 วัน ถึงนานหลายปี

5. การวินิจฉัยโรค : การวินิจฉัยเพื่อยืนยันได้จากการแยกเชื้อ หรือการเพิ่มสูงของระดับภูมิคุ้มกัน สำหรับการตรวจ Direct Immunofl uorescent Microscopy นั้นมีความจำเพาะสูงร้อยละ 90 แต่มีความไวค่อนข้างตํ่าเพียงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับการเพาะเชื้อ จึงควรนึกถึงโรคนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุการป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มีโพรงในปอด คนที่อาศัยหรือเดินทางกลับจากแหล่งที่มีโรคชุก โรคนี้อาจเริ่มแสดงอาการหลังติดเชื้อนานถึง 25 ปี
6. การรักษา : ให้การรักษาแบบประคับประคองและให้ยาเซฟตาซิดีนิ (Ceftazidime) หรือยาอิมิพีเนม(Imipenem) ทางหลอดเลือดอย่างน้อย 10 วัน แล้วให้การรักษาด้วยยาไตรเมโธพริม - ซัลฟาเมธอกซาโซล(Trimetoprim-Sulfamethoxazole) แบบรับประทาน(เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์) ซึ่งอาจให้ร่วมกับยาด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ในเด็กที่อายุมากกวา่ 8 ปี
7. การแพร่ติดต่อโรค : มักติดต่อจากการสัมผัสดินหรือนํ้าที่นํ้าที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล การสำลักหรือกลืนนํ้า หรือหายใจเอาละอองฝุ่นของดินที่มีเชื้อปนเปื้อน

8. มาตรการป้องกันโรค :
    1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และผู้ที่มีบาดแผลควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินหรือแหล่งนํ้า เช่นในนาข้าว ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโรคชุกชุม
    2. ในแหล่งที่มีโรคชุกชุม ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีบาดแผล รอยขีดข่วน ในการป้องกันไม่ให้สัมผัสดินและแหล่งนํ้าโดยตรง เช่น สวมรองเท้าบู๊ท หรือหากจำเป็นต้องรีบทำความสะอาดหลังเสร็จงานทันที

9. มาตรการควบคุมการระบาด : โดยทั่วไปมักเป็นผู้ป่วยเดี่ยว หากมีการระบาดต้องสอบสวนหาแหล่งโรค
เอกสารอ้างอิง
1. กุลนารี สิริสาลี และสุดารัตน์ มโนเชี่ยวพินิจ การเจาะเลือด: ผลกระทบต่อคุณคุณภาพงานบริการทางห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: เอช ที พีเพรส, 2541.
2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. ใน: การตรวจวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส. กระทรวงสาธารณสุข; 2552. หน้า 97 - 98.
3. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Associationof Public Health, 2008.
4. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s , editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia(USA): Elsevier; 2010 : p.2872-2873.
5. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; 2551.