โรคแมวข่วน (CAT-SCRATCH DISEASE)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดกึ่งเฉียบพลันสามารถหายได้เอง โรคแมวข่วน อาจเกิดความสับสนกับโรคอื่นๆ ที่เกิดอาการต่อมนํ้าเหลืองโตได้ เช่น โรคทูลารีเมีย,บรูเซลโลสิส, ทูเบอร์คูโลสิส, กาฬโรค, โรคพลาสเจอเรลโลซิส (Pasteurellosis) และโรคมะเร็งต่อมนํ้าเหลือง

          มีสาเหตุจากการติดเชื้อ Bartonella henselae (ดังรูปที่ 29) มีลักษณะเป็น facultative intracellularparasites ติดสีแกรมลบ รูปร่างแบบท่อนเคลื่อนที่ได้ด้วย fl agellae เป็นเชื้อฉวยโอกาส (opportunisticpathogens) สามารถติดเชื้อในคนได้ โดยมีพาหะเป็นพวกแมลง เช่น หมัด, ริ้นฝอยทราย (sand fl ies) และยุง


รูปที่ 29 ลักษณะโคโลนีที่ลื่นและขรุขระของ B. henselae ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ chocolate agar (กำลัง
ขยาย 40 เท่า) (Smooth and verrucous colonytypes growing concurrently in a chocolate
agar culture of B. Henselae)

2. ระบาดวิทยา :
สถานการณ์ทั่วโลก : พบเกิดขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา อุบัติการณ์จะมากขึ้นในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นและความชื้น (เช่น , ฮาวาย, แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย),ในขณะที่อลาสกา, เทือกเขาร็อกกี้และมิดเวสต์ของรัฐมีความชุกที่ตํ่ากว่าค่ามัธยฐาน เพียง 1 ยีนของ B.henselae ที่เคยมีรายงานในอเมริกาเหนือ ประมาณ70-90% ของโรคแมวข่วน เกิดขึ้นในเดือนฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวในช่วงต้นฤดูกาลนี้เป็นสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนที่เกิดมาพร้อมกับลูกแมวหมัดรบกวนเพิ่มขึ้น
สถานการณ์โรคในประเทศไทย : ยังไม่พบรายงานข้อมูลโรคนี้

3. อาการของโรค : มีอาการวิงเวียน ต่อมนํ้าเหลืองอักเสบโตเป็นก้อน (granulomatous lymphadenitis) และมีไข้ได้หลายแบบ เกิดแผลเป็นผื่นสีแดง เกี่ยวเนื่องจากต่อมนํ้าเหลืองภายใน 2 สัปดาห์ และพัฒนากลายเป็นหนองผู้ป่วยร้อยละ 50 - 90 เกิดผดขึ้นบริเวณที่ถูกแมวข่วนกลุ่มอาการ Parinaud Oculoglandular Syndrome(granulomatous conjunctivitis with pretragala denopathy) เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อตาแดงโดยตรงหรือโดยอ้อม และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบ
ประสาท เช่น สมองอักเสบ และ ระบบประสาทตาอักเสบ(optic neuritis) ได้ อาการไข้สูงเรื้อรังอาจเกิดร่วมกับรอยโรคของกระดูกที่มีการสลายหรือแทนที่เนื้อกระดูกด้วยสิ่งอื่นๆ และ/หรือการเกิดก้อนที่ตับ และม้าม

4. ระยะฟักตัวของโรค : 1 - 2 สัปดาห์

5. การวินิจฉัยโรค : การวินิจฉัยโรคจะใช้อาการทางคลินิกที่สอดคล้องกับหลักฐานการตรวจแอนติบอดีทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Bartonella henselae ที่ตรวจพบไตเตอร์ 1/64หรือมากกว่า จากการตรวจ IFA ที่ให้ผลบวก

          การตรวจสอบทางพยาธิสภาพ (Histopathological examination) ของต่อมนํ้าเหลืองที่ติดเชื้อแสดงลักษณะที่สอดคล้องกัน แต่ไม่ได้วินิจฉัย หนองที่ได้จากต่อมนํ้าเหลืองจะถูกฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยวิธีมาตรฐาน การตรวจทางภูมิคุ้มกัน และ PCR มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจสอบเชื้อ Bartonella ในการตรวจชิ้นเนื้อ หรือการดูดสารจากต่อมนํ้าเหลือง เชื้อ Bartonella จากเลือด และจากสารที่ดูดออกจากต่อมนํ้าเหลืองจะเจริญเติบโต หลังจากการบ่มเชื้อเป็นเวลานานในอาหารเลี้ยงเชื้อ rabbit blood agar in 5% CO2 ที่อุณหภูมิ 36oซ. (96.8oฟ.) และในระบบ cell culture อื่นๆ

6. การรักษา : ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันโรคปกติ และไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยารักษา แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานตํ่า ต้องรักษาเป็นเวลา 1-3 เดือน ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อีริโทรมัยซิน (Erythromycin), ไรแฟมปิซิน (Rifampicin), ซิโพรโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) หรือเจนตามิซิน (Gentamicin) ในรายที่ต่อมนํ้าเหลืองอักเสบ เป็นหนอง การใช้เข็มเจาะให้หนองออกมาก็สามารถลดอาการปวดลงได้ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมนํ้าเหลืองไปตรวจ

7. การแพร่ติดต่อโรค :
1. เกิดจากการโดนแมวข่วนหรือกัด
2. สัมผัสกับขนแมว ซึ่งมีเชื้อจากนํ้าลายแมวที่มันเลียขนติดอยู่ ทำให้มือเกิดการปนเปื้อน แล้วไปสัมผัสกับอวัยวะเช่น ตา ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ (ดังรูปที่ 30)


รูปที่ 30 อาการตาแดงในผู้ป่วยกลุ่มอาการ Parinaud’soculoglandular syndrome โดยพบข้างเดียวกัน
กับต่อมนํ้าเหลืองที่เกิดพยาธิสภาพของโรค ซึ่งมักพบบริเวณหน้าใบหู และส่วนน้อยพบที่ใต้ขา
กรรไกร (The granulomatous conjunctivitis ofParinaud’s oculoglandular syndrome is
associated with ipsilateral local lymphadenopathy, usually preauricular and
less commonly submandibular)

8. มาตรการป้องกันโรค : กำจัด หมัด เห็บ จากตัวแมวก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้มาก เมื่อถูกแมวกัด หรือข่วนให้ล้างแผลด้วยนํ้าสะอาด และทายาทาแผลที่ใช้กันทั่วไป หากมีอาการต่อไปนี้ให้ไปปรึกษาแพทย์
1. แผลกัดหรือข่วนไม่หายในเวลาอันควร
2. รอบ ๆ รอยกัดหรือขว่ นแดงขึ้นและกว้างขึ้น เกิน 2 วัน
3. เป็นไข้อยู่หลายวันหลังถูกแมวกัดหรือข่วน
4. ต่อมนํ้าเหลืองบวมและปวดนานกว่า 2-3 สัปดาห์
5. ปวดกระดูกหรือปวดข้อ ปวดท้อง (โดยไม่มีไข้หรืออาเจียนหรือท้องร่วง) หรืออ่อนเพลียผิดสังเกตนานกว่า 2 สัปดาห์
9. มาตรการควบคุมการระบาด : ค้นหาแหล่งแพร่เชื้อในแมลง และในสัตว์ เพื่อทำการป้องกันและควบคุมโรคพร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันตนเองให้กับประชาชน

เอกสารอ้างอิง:
1. Heymann DL.,Editor, Control of Communicable Diseases Manual 19th Edition, American Association of Public Health, 2008.
2. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s, editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia (USA): Elsevier; 2010 : p.3000.