ผลการศึกษาการฉีดเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 แบบฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง เปรียบเทียบกับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช 28 ต.ค. 2564


ผลการศึกษาการฉีดเข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 แบบฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง เปรียบเทียบกับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
โดยศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช 28 ต.ค. 2564

  • ในกลุ่มที่เคยฉีดวัคซีนซิโนแวคมา 2 เข็ม 

  • หากกระตุ้นเข็มที่สาม ด้วยไฟเซอร์เข้าในชั้นผิวหนัง 0.05cc ได้ระดับภูมิคุ้มกัน IgG 3,209 BAU/mL ซึ่งไกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาด ครึ่งโดส(0.15cc) ซึ่งได้ระดับ 3,981 BAU/mL แต่ต่ำกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ แบบเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งให้ค่าเฉลี่ย 5,152 BAU/mL   

  • หากกระตุ้นเข็มสามด้วยแอสตร้าเซเนก้าเข้าในชั้นผิวหนัง 0.1cc ให้ระดับ IgG เฉลี่ย 2,810 BAU/mL ซึ่งสูงกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อซึ่งมีระดับเฉลี่ย 1,358  BAU/mL ประมาณ 2 เท่า 

  • โดยภาพรวม การฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซเนก้าเข้าในหนังหรือกล้ามเนื้อ ให้ระดับ anti-RBD IgG ที่สูงกว่าระดับหลังฉีด Sinovacเข็มที่ 2 ประมาณ 25-156 เท่า

  • ในกลุ่มที่เคยฉีดแอสตร้าเซเนก้ามา 2 เข็ม

  • การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์เข้าในหนัง 0.05cc ให้ระดับภูมิสูง1,490 BAU/mL ใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาดครึ่งโดส(0.15cc) 1,962 BAU/mL  ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาดเต็มโดส(0.3cc)ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2,377 BAU/mL 

  • การฉีดเข็มที่สามด้วยไฟเซอร์ให้ระดับที่สูงกว่าหลังฉีดเข็มที่ 2 ของแอสตร้าเซเนก้า (278 BAU/mL) 5-8 เท่า

  •  ส่วนการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในกลุ่มนี้ ให้ภูมิที่ไม่สูง ไม่ว่าจะเป็นแบบฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (246 BAU/mL) และฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 0.1cc (309 BAUmL)                                                                                                                                                                                

สรุป ผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มสามารถถูกกระตุ้นได้ดี ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 ทั้งการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อและเข้าในชั้นผิวหนัง ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ามาแล้วสองเข็มควรกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งได้ผลดีทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อหรือในผิวหนัง