การระบาดของโรค chikungunya ในประเทศไทย



พ.ญ.พักต์เพ็ญ สิริคุตต์

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ระบาดวิทยา

โรค chikungunya พบครั้งแรกที่สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ในปี พ.ศ. 24961 หลังจากนั้นก็มีการแพร่กระจายของโรคไปยังทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย การระบาดใหญ่ครั้งสำคัญมีทั้งหมด 2 เหตุการณ์ ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2548 ที่เกาะ Réunion สาธารณรัฐฝรั่งเศสพบผู้ป่วยโรคสูงถึง 244,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 ของประชากรทั้งหมด2 ตามด้วยการระบาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2549 ที่สาธารณรัฐอินเดียพบผู้ป่วยมากกว่า 1.25 ล้านราย แพร่กระจายไปทั่วทั้ง 151 จังหวัดทั่วประเทศ3

ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่โรค chikungunya จะแพร่กระจายเฉพาะในพื้นที่ของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย แต่หลังจากการระบาดใหญ่ครั้งดังกล่าวก็เริ่มมีการแพร่กระจายของโรคเข้าสู่บนแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา โดยเริ่มระบาดในทวีปยุโรปเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ที่สาธารณรัฐอิตาลีและครั้งแรกในทวีปอเมริกาในปี พ.ศ. 25584

ปัจจุบันปี พ.ศ. 2562 ยังคงมีการระบาดของโรค chikungunya อย่างต่อเนื่องทั้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยพื้นที่ที่มีการระบาดหนักที่สุดคือ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศไทย ที่พบผู้ป่วยมากถึง 38,000 ราย 9,015 ราย และ 7,054 ราย ตามลำดับ5 (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แสดงประเทศที่มีการระบาดของโรค chikungunya ปี พ.ศ. 25625
11.jpg


การระบาดของโรค chikungunya ในประเทศไทย (รูปที่ 2)6

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการระบาดของโรค chikungunya ทั้งหมด 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2552 ที่พบผู้ป่วยมากถึง 52,057 ราย คิดเป็น 82.03 รายต่อแสนประชากร หลังจากนั้นก็ไม่มีการระบาดของโรคอีกเลย จน กระทั่งเริ่มมีการระบาดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2561 และพ.ศ. 2562 ที่พบจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นเป็น 3,580 ราย (5.40 รายต่อแสนประชากร ) และ 7,054 ราย (10.68 รายต่อแสนประชากร) ตามลำดับ ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2554-2560 ที่มีการรายงานโรคเพียง 10-190 รายต่อปีเท่านั้น

สำหรับพื้นที่ที่มีระบาดของโรค chikungunya ในช่วง 10 ที่ผ่านมารวมถึงการระบาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2552 โรค chikungunyaเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปี .. 2562 มีการแพร่กระจายของโรคที่แตกต่างจากเดิมคือ นอกจากพื้นที่ภาคใต้แล้ว ยังมีการระบาดลุกลามไปถึงจังหวัดตาก เขตพื้นที่ภาคตะวันตกอีกด้วย

ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของโรค chikungunya จำนวนมาก แต่กลับมีความรุนแรงของโรคต่ำตั้งแต่ .. 2552 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบผู้เสียชีวิตเลย

รูปที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยโรค chikungunya (รายต่อแสนประชากร) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-25626
22.JPG


โรค chikungunya เกิดจากเชื้อ Chikungunya virus (CHIKV) เป็นไวรัสชนิด single-stranded RNA อยู่ใน genus Alphavirus7

การแพร่กระจายเชื้อ7

โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางยุงชนิด Aedes aegypti และ Aedes albopictus และสามารถแพร่กระจายจากแม่สู่ลูกผ่านvertical transmission แต่ยังไม่มีรายงานการแพร่กระจายสู่ทารกในครรภ์ผ่านจากรก

พยาธิสรีรวิทยา (รูปที่ 3)8,9

หลังโดนยุงกัด CHIKV จะเข้าสู่ subcutaneous capillaries และติดเชื้อเซลล์บริเวณใต้ผิวหนัง ได้แก่ macrophages, fibroblasts และ endothelial cells หลังจากนั้น CHIKV ก็จะมีการแบ่งตัวและแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด นำพา CHIKV ไปยังอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตับ กล้ามเนื้อ ข้อ สมอง หัวใจ ไต และ lymphoid organs ต่างๆ ก่อให้เกิดอาการทางคลินิกตามอวัยวะดังกล่าวโดยที่เชื้อ CHIKV สามารถติดเชื้อเซลล์ macrophage ใน synovial tissue ก่อให้เกิด chronic inflammatory response ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ (arthralgia) เรื้อรังตามมาได้

รูปที่ 3 พยาธิสรีรวิทยาของโรค chikungunya8
33.JPG

ลักษณะทางคลินิก8,10

หลังจากการติดเชื้อ CHIKV ผู้ป่วยเด็กส่วนหนึ่งไม่มีอาการ (asymptomatic) พบร้อยละ 35-40 ลักษณะอาการของโรคแบ่งเป็น2 ระยะคือ ระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง ในระยะเฉียบพลัน อาการที่พบบ่อยคือ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ผื่น ซึ่งอาการในระยะนี้จะสามารถหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ยกเว้นอาการปวดข้อที่สามารถเรื้อรังได้นานถึง 2 ปี ภาวะปวดข้อเรื้อรังพบได้น้อยในเด็ก และผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะนี้คือ อายุมากกว่า 45 ปี และผู้ที่ปวดข้อรุนแรงในระยะเฉียบพลัน11

ลักษณะอาการระยะเฉียบพลัน8,10

ระยะฟักตัวของโรค chikungunya คือ 3-7 วัน โดยอาการที่พบบ่อยในระยะนี้ คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และผื่น

อาการทางผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ maculopapular rash นานประมาณ 5 วัน บางรายตามด้วยอาการ hyperpigmentation ที่บริเวณ centro-facial area ลำตัว แขนขา และข้อนิ้ว อาการอื่นๆ ได้แก่ bullous rash, skin blistering, photosensitivity และ aphthous-like ulcer

อาการเลือดออกผิดปกติ ลักษณะที่พบ ได้แก่ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน purpura เลือดออกในทางเดินอาหาร และช็อก

อาการ myalgia, arthralgia และ arthritis ซึ่งอาการ arthralgia และ arthritis จะพบในผู้ใหญ่มากกว่าผู้ป่วยเด็ก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อเข่า ส่วนใหญ่จะมีอาการหลายข้อ (polyarthritis) ลักษณะอื่นๆ ที่พบได้คือ tenosynovitis, tendinitis และ bursitis ถึงแม้ว่าบางรายอาจมีอาการปวดข้อรุนแรง แต่น้อยมากที่จะมีภาวะ permanent destruction

อาการทางระบบประสาท พบมากในเด็กโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ลักษณะอาการทางระบบประสาทที่พบ11 ได้แก่ seizure, acute encephalopathy, meningoencephalitis, myelopathy/myelitis, encephalomyelopathy/myeloneuropathy/encephalomyeloneuropathy, Guillain‐Barré syndrome, acute disseminated encephalomyelitis, neonatal hypotonia และ neuro‐ocular disease (uveitis, retinitis, optic neuritis)

Perinatal infection

เชื้อ CHIKV จะแพร่กระจายจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ผ่านทาง vertical transmission ยังไม่มีหลักฐานการติดเชื้อผ่านทางรก13 และการติดเชื้อ CHIKV ในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ก่อให้เกิดการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด small for gestational age และภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด (congenital malformation)14 แต่การติดเชื้อผ่านทาง vertical transmission สามารถทำให้เกิด fetal heart rate deceleration และ meconium stained amniotic fluid ตามมาได้13,15

ทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อจะเกิดอาการภายใน 3-7 วันหลังคลอด ลักษณะอาการทางคลินิกที่พบบ่อยคือ ไข้ กระสับกระส่าย ผื่น ดูดนมได้น้อย hyperalgesia/allodynia และแขนขาบวม

ลักษณะผื่นที่พบได้แก่ petechial rash, polymorphous rubella like rash, roseola like rash, bullous dermatosis, hyperpigmentation และ acrocyanosis16,17

ทารกแรกเกิดมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้แก่ hemodynamic instability, respiratory failure, myocarditis, meningoencephalitis, disseminated intravascular coagulation16,17 โดยที่ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้แก่ ภาวะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย ไข้ต่ำ ระดับ prothrombin time ต่ำ และระดับ platelet ต่ำ15

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค7

มีทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่

1. Reverse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR) เป็นวิธีตรวจหาไวรัส ควรตรวจภายในสัปดาห์แรกของโรค

2. Plague-reduction neutralization ตรวจหา Chikungunya virus-specific IgM และ neutralizing antibodies ซึ่ง IgM จะเริ่มขึ้นที่ปลายสัปดาห์แรกของโรค และคงอยู่ได้นาน 30-90 วัน ดังนั้นหากตรวจพบ IgM อาจเป็นผลจากการติดเชื้อในอดีตได้

ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นที่พบ ได้แก่ complete blood count (CBC) จะมีลักษณะ lymphopenia, thrombocytopenia ค่า creatinine และค่า hepatic transminases จะขึ้นสูงได้

การรักษา7 การรักษาสำหรับโรคนี้เป็นแบบประคับประคอง ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะสำหรับฆ่าเชื้อ CHIKV


เอกสารอ้างอิง

1. Robinson MC. An epidemic of virus disease in Southern Province, Tanganyika Territory, in 1952-53. I. Clinical features. Trans R Soc Trop Med Hyg. 1955;49:28-32.

2. Renault P, Solet JL, Sissoko D, et al. A major epidemic of chikungunya virus infection on Reunion Island, France, 2005-2006. Am J Trop Med Hyg. 2007;77:727-31.

3. WHO. Global alert and response (GAR) Chikungunya in India: Available from: https://www.who.int/csr/don/2006_10_17/en/

4. WHO. Chikungunya, Key facts: Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chikungunya

5. ECDC. Chikungunya worldwide overview: Available from: https://ecdc.europa.eu/en/all-topics-zchikungunya-virus-diseasesurveillance-and-disease-data/chikungunya-worldwide-overview

6. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.กระทรวงสาธารณสุข. Chikungunya: เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=situation&ds=84 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562).

7. American Academy of Pediatrics. Chikungunya. In: Kimberlin DW, Brady MT, Jackson MA, Long SS, eds. Red Book: 2018 Report of the Committee on Infectious Diseases. 31st ed. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics; 2018:271-2.

8. Dupuis-Maguiraga L, Noret M, Brun S, Le Grand R, et al. Chikungunya disease: infection-associated markers from the acute to the chronic phase of arbovirus-induced arthralgia. PLoS Negl Trop Dis. 2012;6:e1446.

9. Gasque P, Bandjee MC, Reyes MM, Viasus D. Chikungunya Pathogenesis: From the Clinics to the Bench. J Infect Dis. 2016;214 (suppl 5):S446-48.

10. Ritz N, Hufnagel M, Gérardin P. Chikungunya in Children. Pediatr Infect Dis J. 2015;34:789-91.

11. Sissoko D, Malvy D, Ezzedine K, Renault P, Moscetti F, et al. Postepidemic chikungunya disease on Reunion Island: course of rheumatic manifestations and associated factors over a 15-month period. PLoS Negl Trop Dis. 2009;3:e389.

12. Mehta R, Gerardin P, de Brito CAA, Soares CN, Ferreira MLB, Solomon T. The neurological complications of chikungunya virus: A systematic review. Rev Med Virol. 2018;28:e1978.

13. Patrick Gérardin, Angelle D. LaBeaud, Nicole Ritz and Xavier Fritel (August 24th 2016). Chikungunya fever during pregnancy and in children: an overview on clinical and research perspectives, current topics in chikungunya, Alfonso J. Rodriguez-Morales, IntechOpen.

14. Fritel X, Rollot O, Gerardin P, et al. Chikungunya virus infection during pregnancy, Reunion, France, 2006. Emerg Infect Dis. 2010;16:418-25.

15. Gérardin P, Barau G, Michault A, et al. Multidisciplinary prospective study of mother-to-child chikungunya virus infections on the island of La Réunion. PLoS Med. 2008;5:e60.

16. Contopoulos-Ioannidis D, Newman-Lindsay S, Chow C, et al. Mother-to-child transmission of Chikungunya virus: A systematic review and meta-analysis. PLoS Negl Trop Dis. 2018;12:e0006510.

17. Torres JR, Falleiros-Arlant LH, Dueñas L, et al. Congenital and perinatal complications of chikungunya fever: a Latin American experience. Int J Infect Dis. 2016;51:85-8.