Highlight งานประชุมประจำปีสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 วันที่ 1-3 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมรอยัลคลิฟ พัทยา จังหวัดชลบุรี


What’s new in Dengue?

WHO ได้ให้ความสำ คัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยตั้งเป้าหมายในปี ค.ศ. 2020 ลดอัตราตาย และอัตราป่วยจากการติดเชื้อเดงกี่ลง 50% และ 25% ตามลำ ดับ วัคซีนไข้เลือดออกยังเป็นความหวังขอการแก้ปัญหาของโรคนี้ ปัจจุบันได้มีการศึกษาวัคซีนไข้เลือดออกใน phase 3 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด Tetravalent ได้ทำ การศึกษาในกลุ่มประเทศเอเชียและอเมริกาใต้ จากการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้เลือดออกชนิด Tetravalent ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย เป็นความหวังในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำ คัญของหลายๆ ประเทศ 

h1.jpg

Septic shock

ผลการศึกษา randomizedcontrol trial ศึกษาในประเทศอังกฤษสหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลียเรื่องการให้ fluid resuscitation ในภาวะ septic shock พบว่าการให้ load fluid ปริมาณมากเหมือนที่แนะนำ ใน Surviving SepsisCampaign 2012 นั้น ไม่ได้ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น อาจต้องมีการทบทวนแนวปฎิบัติในการดูแลภาวะ Sepsis ต่อไป 


Direction of vaccine in AEC era

ก้าวแรกของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่เรียกกันว่า ASEANEconomics Community หรือ AEC นับเป็นก้าวสำคัญของการเปิดประเทศ รวมกลุ่มของชาติใน ASEAN 10 ประเทศ ในด้านของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนี้ด้วยเช่นกัน โดยสาเหตุมี 2 ประการ คือ 

1) ประชาชนจากประเทศอื่นนำโรคเข้ามาในประเทศไทยและแพร่ต่อให้คนไทยเนื่องจากคนไทยมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าวต่ำ และ 

2) ประชาชนจากประเทศอื่นมีภูมิคุ้มกันต่อโรคบางชนิดต่ำกว่าประชาชนไทยเมื่อย้ายมาอยู่ในประเทศไทย จะมาติดโรคและกลายเป็นแหล่งแพร่โรคทำให้เกิดการระบาดขึ้นในชุมชน ดังนั้นงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในประเทศไทย จึงต้องปรับตัวเพื่อปิดจุดอ่อนเหล่านี้ ได้แก่ 1) เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในประชาชนไทย เช่น การรณรงค์ให้วัคซีน dT ในผู้ ใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อปิดช่องว่างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ  2) มีมาตราการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในแรงงานต่างชาติ เช่น ข้อบังคับให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ก่อนให้ขึ้นทะเบียบอนุญาตทำงานในประเทศไทย 

h3.jpg h4.jpg

ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

การอุบัติขึ้นของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในปัจจุบัน เป็นการแพร่ระบาดของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เป็นผลรวมของการใช้ยาต้านจุลชีพ (ไม่ว่าจะเป็น proper use, misuse หรือ overuse) การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ถูกต้องปัญหาแรกๆ ที่เราทราบคือการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายขนานจนเป็นเชื้อประจำถิ่นของโรงพยาบาล ต่อมาเป็นการนำเข้าเชื้อดื้อยาใหม่ๆ จากคนไข้ชาวต่างชาติที่มารับการรักษาในประเทศไทย และในปัจจุบันมีการตรวจพบเชื้อดื้อยารุ่นใหม่ในวงการปศุสัตว์ที่พร้อมจะแพร่กระจายในชุมชน ประชาชนที่นำอาหารที่ปนเปื้อนเหล่านี้ไปปรุงอาหารและบริโภคอย่างไม่ระมัดระวังก็จะเกิดการติดเชื้อได้โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุและหญิงตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น แพทย์ต้องรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเพราะป่วยหนัก แล้วต่อมาก็จะเกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาเหล่านี้ในโรงพยาบาล กลายเป็นเชื้อดื้อยารุ่นใหม่ที่ดื้อยาหลายกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขมีโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (Antibiotics Smart Use) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อใน 3 โรคเป้าหมายที่พบบ่อย คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/index.php


โรคติดเชื้อปอดอักเสบรุนแรง

สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงหรือปอดอักเสบรุนแรงเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุผ่านระบบเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบรุนแรง โดยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 - 31 ธันวาคม 2557 รายงานจำนวน 771 ราย จำแนกเป็นผู้ใหญ่ 252 ราย (32.7%)เด็ก 519 ราย (67.3%) โดยเป็นผู้ป่วยเสียชีวิต 155 ราย (20%) จากตัวอย่างของผู้ป่วยโรคติดเชื้อปอดอักเสบรุนแรง/เสียชีวิต จำนวน 771 ราย มีการตรวจพบเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของการป่วยจำนวน 448 ราย (58%) พบว่าส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียวจำนวน 216ราย (48.2%) ในจำนวนนี้พบว่า Respiratory syncytial virus เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง 116 (53.7%) ตามด้วย Adenovirus (12.9%) และHuman metapneumovirus (6.5%) ตามลำดับ สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆ ตัว (mixed bacterial infection)

h2.jpg h5.jpg h6.jpg

Antiviral in clinical practice

ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่: ไข้หวัดใหญ่ (influenza) ยังเป็นโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญเพราะทำให้เกิดโรคที่รุนแรงได้ ถึงแม้จะมีวัคซีนใช้แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% ในปัจจุบันไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งสายพันธุ์ A และ B มีความไวต่อยากลุ่ม neuraminidase inhibitorเกือบ 100% ยากลุ่มนี้ใช้ได้ทั้งในการรักษาและการป้องกัน การรักษาไข้หวัดใหญ่โดยการให้ยานี้ควรเริ่มภายใน 2 วันหลังเริ่มมีอาการและผู้ที่ควรได้รับการรักษาคือกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคทางระบบประสาทโรคตับ โรคไต ผู้ที่ได้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่กำลังได้ยาแอสไพริน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก (BMI ≥ 40)


ยาต้านไวรัสเริม: โรคเริม (herpes virus infection) มีความสำคัญในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและในทารกแรกเกิด ยาหลักที่ใช้ได้แก่acyclovir ซึ่งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย ในเด็กแรกเกิด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา ผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกเช่น herpeticgingivostomatitis หรือ primary genital herpes infection มักมีอาการรุนแรงจึงมักได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเช่นกัน นอกจากนี้ยายังมีบทบาทใน chronic suppressive therapy ในผู้ที่มีโรคเริมกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ (เช่นมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปี) ในเด็กแรกเกิดหลังรักษาด้วยยาฉีดทางเส้นเลือดครบแล้ว จะให้ยารับประทานต่ออีกประมาณ 6 เดือนซึ่งมีผลดีต่อ neurodevelopment ในเด็กที่เป็น CNS herpes infectionและลด skin recurrence ในเด็กที่เป็น skin eye mouth diseaseในปัจจุบันมียาใหม่ รับประทานง่ายกว่า acyclovir เช่น valacyclovirและ famciclovir

h7.jpg h9.jpg

Foodborne and waterborne disease

การวินิจฉัยโรคติดต่อทางอาหารและน้ำรวมถึงการสืบสวนการระบาดต้องอาศัยหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่น ประวัติการรับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ผู้ที่ร่วมรับประทานอาหารด้วยแล้วมีอาการเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อที่ปนเปื้อนมาทางอาหารและน้ำได้ เช่น กลุ่มอาการ Guillain-Barre syndrome สัมพันธ์กับการติดเชื้อ enteroinvasive E.coli,Vibrio parahaemolyticus, Yersinia enterocolitica, Campylobacterและ Shigella กลุ่มอาการ hemolytic-uremic syndrome สัมพันธ์กับการติดเชื้อ Shiga toxin-producing E.coli O157:H7 และShigella dysenteriae โรค reactive arthritis สัมพันธ์กับการติดเชื้อCampylobacter, Salmonella, Shigella และ Yersinia enterocoliticaเป็นต้น สำ หรับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุ มักทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือสอบสวนโรคเนื่องจากสงสัยเกิดการระบาด

h8.jpg

Acyclovir postexposure prophylaxis for varicella in healthy children

การป้องกันหลังสัมผัสโรคอีสุกอีใส (post-exposureprophylaxis, PEP) โดยทั่วไป พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดโรครุนแรงเช่น ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ทารกคลอดก่อนกำหนดโดยแนะนำ ให้เป็น intravenous immunoglobulin สำหรับเด็กปกติโดยทั่วไปไม่ได้แนะนำให้การป้องกันหลังการสัมผัสโรค เนื่องจากโรคอีสุกอีใสในเด็กปกติมีอาการไม่รุนแรง และเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีคุ้มกันตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามการติดเชื้ออาจก่อโรครุนแรงในสตรีมีครรภ์ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 12 ปี ทารกแรกเกิด การให้วัคซีนอีสุกอีใสในเด็กปกติภายใน 72-120 ชั่วโมงหลังสัมผัสโรค (postexposure prophylaxis) พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ แต่ในผู้ที่มีข้อห้ามในการให้วัคซีน เช่น อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือสัมผัสมานานกว่า 5 วัน ไม่สามารถใช้วัคซีนได้ ได้มีการศึกษาโดยให้ acyclovir เป็น postexposure prophylaxis เริ่มกินในวันที่ 7 หลังสัมผัสโรค พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคประมาณ 65% อย่างไรก็ตามมีจำนวนการศึกษาไม่มาก และยังขาดข้อมูลของภูมิคุ้มกันต่อ varicella ในคนที่ได้ acyclovir จึงไม่แนะนำให้ acyclovir เป็น postexposureprophylaxis ในเด็กปกติทุกราย และในกรณีเด็กที่ได้ acyclovir เป็นpostexposure prophylaxis แนะนำให้ตรวจเลือดดูว่ามีภูมิคุ้มกันต่อ varicella หรือไม่ร่วมด้วย

ไฟล์แนบบทความ
 Download [440 kb]