คุดทะราด (YAWS)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคเรื้อรังเป็นแล้วเป็นกลับซํ้าได้อีก เกิดจากเชื้อ Treponema (Treponematosis) ที่ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัส โดยระยะแรก และระยะที่สอง มีรอยโรคบนผิวหนังมักพบที่หน้าและขา ส่วนระยะที่สาม (tertiary) หรือระยะสุดท้าย ในระยะนี้จะไม่แพร่กระจายเชื้อ มีรอยโรคที่มีการถูกทำลายบนผิวหนัง

2. ระบาดวิทยา :
สถานการณ์ทั่วโลก : ในปี พ.ศ. 2493 -2513 องค์การอนามัยโลก และ The United Nation’sChildren’s Fund ได้รณรงค์กวาดล้างโรคคุดทะราดโดยการรักษาด้วยยาเพนิซิลลิน ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกากลางทวีปอเมริกาใต้ ทวีปเอเชีย และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก รวม 46 ประเทศ โดยผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้านราย ได้รับการรักษาจากการรณรงค์ครั้งนี้ ทำให้ความชุกของโรคคุดทะราดทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าร้อยละ 95 โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย แต่โรคคุดทะราดกลับมาปรากฏขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2523 ในแถบเส้นศูนย์สูตรและตะวันตกของทวีปแอฟริกา และพบการติดเชื้อกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ อยู่ใทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง หมู่เกาะคาริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เนื่องจากขาดการสนับสนุนทางทรัพยากรและทางการเมืองในการกวาดล้างโรคคุดทะราดต่อมาได้มีความพยายามในการกวาดล้างโรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2538 ในบางภูมิภาค แต่ยังขาดการประสานงานในระดับนานาชาติอยู่ และในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอินเดียก็ประกาศว่า ได้กำจัดโรคคุดทะราดให้หมดไปจากประเทศ

     ในปัจจุบัน ความชุกของโรคคุดทะราดยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากไม่มีการรายงานโรคแบบเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 แต่คาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคคุดทะราดรายใหม่ปีละประมาณ 5,000 ราย จากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียและติมอร์ตะวันออก ในปี พ.ศ. 2548 มีรายงานผู้ป่วยจากประเทศการ์น่า ประมาณ 26,000 ราย และมีรายงานผู้ป่วยจากประเทศ ปาปัวนิวกินีประมาณ 18,000 รายส่วนจำนวนผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด

สถานการณ์โรคในประเทศไทย : มีการรายงานการระบาดของโรคคุดทะราดในหมู่บ้านชนบททางภาคใต้ของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2533 Tharmaphornpilas P. และคณะ ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน 54 ราย อายุตั้งแต่ 2 -79 ปี โดยเป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 53.7 ทำให้มีการค้นหากลุ่มนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของพื้นที่ พบว่า นักเรียน 105 ราย ป่วยเป็นโรคคุดทะราดถึง 34 ราย ทำให้เกิดความตื่นตัวในการเฝ้าระวังควบคุมไม่ให้โรคคุดทะราดกลับมาระบาดอีกครั้งโดยหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 - 2539 พบการรายงานผู้ป่วยโรคคุดทะราดประปรายเป็นบางปี จากทุกภาคของประเทศไทย โดยมีจำนวนผู้ป่วยไม่มากนัก ปัจจุบันไม่มีรายงานผู้ป่วยใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - 2553

3. อาการของโรค :
ในระยะแรก (mother yaw) บนผิวหนังจะเริ่มเป็นแผลแบบรอยย่นปูด (papilloma) ส่วนใหญ่เกิดบริเวณของใบหน้าและขา รอยโรคเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน มักไม่มีอาการเจ็บนอกจากมีการติดเชื้อแทรกซ้อน รอยโรคจะเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ และอาจทำให้เกิดรอยโรคแบบตุ่มสีม่วงคลํ้าคล้ายผลราสเบอร์รี่ (framboesial หรือ raspberry lesion) หรือตุ่มที่แตกเป็นแผลเปื่อย (ulceropapilloma) (ดังรูปที่ 23)ในระยะที่สอง หรือระยะมีการกระจายของผื่นนูน(papillomata) หรือมีจุดด่างแบบเป็นเกล็ด (ดังรูปที่ 24) ซึ่งอาการนี้จะปรากฏในช่วงระยะเวลาสั้นหลังจากการรักษารอยแผลเบื้องต้น ในฤดูร้อนบ่อยครั้งจะพบเห็นของเหลวในรอยพับของผิวและจุดนูน/ด่างเป็นจุดสนใจ (สำคัญ)รอยโรคเหล่านี้ทำให้เจ็บปวดและมักจะทำให้พิการรอยแผล paillomata และรอยลักษณะหนาคล้ายหนังคางคกบนฝ่ามือและฝ่าเท้าอาจเกิดขึ้นในระยะแรกและระยะสุดท้าย แผลจะหายเองแต่ก็เกิดแผลใหม่ขึ้นอีกในตำแหน่งอื่นได้ในระยะแรกและระยะหลัง ระยะสุดท้ายจะเกิดแผลที่มีการทำลายผิวหนังและกระดูก (ดังรูปที่ 25)ซึ่งเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 - 20 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่ได้รับการรักษาหลังจากการติดเชื้อนาน 5 ปี หรือนานกว่า โรคคุดทะราดไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงเสียชีวิตแต่มักทำให้ร่างกายผิดรูปทรงหรือพิการได้


รูปที่ 23 แผลแบบรอยย่นปูด (papilloma) บริเวณต้นขาด้านบน ในระยะแรกของโรคคุดทะราด ที่เรียกว่า
primary framboesioma หรือ mother yawรอยโรคมักเริ่มด้วยเป็นผื่นเล็กๆ ตามขาแล้วค่อยๆ
ขยายใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มคล้ายผลราสเบอร์รี่ (Initialpapillomatous yaws lesion on upper thigh
also called primary framboesioma, motheryaw. Initial lesion usually commences as
papule on lower extremities and slowlyenlarges to form a raspberry-like lesion)


รูปที่ 24 รอยแผล paillomata ลักษณะหนาคล้ายหนังคางคก
บริเวณขาที่เกิดขึ้นในระยะแรก (Early ulceropapillomatousyaws on the leg)



รูปที่ 25 รอยโรคที่มีการทำลายกระดูกและกระดูกอ่อนรวมทั้งจมูก (Gangosa)

4. ระยะฟักตัวของโรค : ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน

5. การวินิจฉัยโรค : โดยวิธีการ darkfi eld หรือ direct FA microscopic จากแผลในระยะแรกหรือแผลระยะที่สองการตรวจปฏิกิริยานํ้าเหลืองซึ่งใช้ตรวจหาซิฟิลิส เช่นวิธีการ VDRL จะให้ผลบวกในระยะแรกและอีกหลายปีบางรายอาจจะมีผลบวกต่อ titer ของแอนติบอดีในระดับตํ่าๆ เสมอตลอดชีวิต และวิธีการตรวจนํ้าเหลืองหาเชื้อ treponema จำเพาะเช่น FTA-ABS, MHA-TP จะให้ผลบวกตลอดชีวิต

6. การรักษา : ใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) สำหรับผู้ป่วยและผู้สัมผัสอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยฉีดยาเบนซาทีนเพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ขนาด1.2 ล้านหน่วยเข้ากล้ามครั้งเดียว และเด็กอายุตํ่ากว่า10 ปี ใช้ขนาด 0.6 ล้านหน่วย

7. การแพร่ติดต่อโรค : การแพร่โรคทางตรง โดยการสัมผัสกับนํ้าเหลืองจากแผลของผู้ป่วยในระยะที่หนึ่งและระยะที่สอง การแพร่โรคทางอ้อม จากการปนเปื้อนเชื้อของเครื่องใช้หรือวัสดุต่างๆ ซึ่งมีการทิ่ม ตำ หรือเจาะไปในผิวหนังอาจเกิดจากการเกา หรือแมลงวันซึ่งมาเกาะบนแผลเปิดของผู้ป่วย

8. มาตรการป้องกันโรค :

  1. มาตรการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป ให้ความรู้เรื่องโรคจากเชื้อ Treponema แก่ประชาชนทั่วไป ปรับปรุงสุขาภิบาลให้ดีขึ้น ส่งเสริมสุขนิสัยการใช้สบู่และนํ้าส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจ และสังคมต่างๆ เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรค
  2. จัดกิจกรรมการควบคุมแบบเข้มในชุมชนที่มีโรคคุดทะราดเป็นโรคประจำถิ่น โดยการตรวจคัดกรองประชากรทั้งหมด และให้รักษาผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั้งในระยะไม่แสดงอาการและระยะมีอาการป่วย โดยการรักษาผู้สัมผัสที่ไม่ปรากฏอาการจะมีผลดีที่สุด
  3. ตรวจหาเชื้อในนํ้าเหลืองหาผู้ป่วยระยะที่ไม่แสดงอาการของโรค โดยเฉพาะในเด็ก เพื่อป้องกันโรคกลับมาเป็นใหม่และทำให้เกิดแผลติดเชื้อ เพื่อการควบคุมรักษาการเกิดโรคในชุมชน
  4. จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวินิจฉัยโรคและการรักษา โดยจัดทำเป็นโครงการรณรงค์การควบคุมโรคและรวมเป็นแผนบริการสาธารณสุขของท้องถิ่นอย่างถาวร
  5. ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการที่ผิดปกติของสภาพร่างกายจากโรค

9. มาตรการควบคุมการระบาด :
โครงการรักษาเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง โดยองค์ประกอบสำคัญของโครงการ ได้แก่

  1. สำรวจประชากรในชุมชนเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อ
  2. การรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงผู้สัมผัสโรคในครอบครัวและชุมชน โดยดูจากความชุกของโรคคุดทะราดในชุมชน
  3. สำรวจปีละครั้ง นาน 1 - 3 ปี โดยเป็นกิจกรรมสาธารณสุขในท้องที่ชนบทของประเทศ

เอกสารอ้างอิง:
1. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Associationof Public Health, 2008.
2. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s, editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia(USA): Elsevier; 2010 : p.3056.